วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ดีแทคนำทีมร่วมโครงการพลิกฟื้นพื้นป่า ด้วยพระบารมี : นครสวรรค์

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2553 บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูลนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค นำโดย คุณศุภิสรา ดวงแก้ว ผู้ช่วยผู้จัดการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด พร้อมทีมเยาวชนอาสาจังหวัดนครสวรรค์ คุณภาระกิต เจริญกองชู ผู้จัดการรายการร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดพิษณุโลก FM 92.50 MHz. ผู้นำชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด จังหวัดพิษณุโลก ร่วมปลูกป่าในโครงการ " พลิกฟื้นพื้นป่า ด้วยพระบารมี " ณ อุทยานนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยในงานมีผู้เข้าร่วมปลูกป่ากว่า 200 คน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านด่านนาขาม : นายฟื้น โชวันดี

นายฟื้น โชวันดี ประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านด่านนาขาม อยู่บ้านเลขที่ 237 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 โทร.084-3739510

รางวัลเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับจากหน่วยงานต่างๆ

  • ปี พ.ศ 2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็น “ ปราชญ์ชาวบ้าน “ คำสั่ง จังหวัดอุตรดิตถ์ที่ 2374/2546 ตามคำสั่ง นายปรีชา บุตรตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด
  • ปี พ.ศ.2546 รางวัลชมเชย ในการประกวดภูมิปัญญา ท้องถิ่นภาคเหนือประเภทเครื่องมือห่อหุ้ม และเก็บ เกี่ยวผลไม้สำหรับเกษตรกรรายย่อย จากสำนักงานส่งเสริม และการพัฒนาการเกษตรที่6 จังหวัดเชียงใหม่
  • ปี พ.ศ.2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็ผู้ทรงคุณวุติ อนุกรรมการพัฒนาการเกษตร วิทยาการเกษตรอินทรีย์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
  • ปี พ.ศ.2547 รางวัลชนะเลิศ ในการประกวดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องใช้การเกษตร ชื่อผลงาน เครื่องห่อผลไม้ (โครงการวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์)
  • ปี พ.ศ.2547 เกียตรติบัตรรางวัลที่1 จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านภูมิปัญญาเกษตรกรไทย
  • ปี พ.ศ 2549 เป็นผู้แทนเกษตรคณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ปี พ.ศ.2550 เกียตรติบัตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นดีเด่น จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกลุ่ม “ห้าขุนศึก “ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตาก และจังหวัดอุตรดิตถ์

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงการทำดีทุกวัน 1Goal : Education for All


แสดงพลังร่วมกับคนทั่วโลกเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เพียงส่ง SMS พิมพ์ 1 มายังหมายเลข 1677 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าดีแทคทั้งระบบเติมเงินและรายเดือน

นายพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิดจากดีแทค นำทีมเดินหน้ารณรงค์และสื่อสารถึงวัตถุประสงค์โครงการว่า “ดีแทคมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการ “1Goal: Education for All” ไม่ใช่ในฐานะที่ดีแทคเป็นสมาชิกของ GSMA เท่านั้น แต่ในฐานะที่เป็นตัวแทนประเทศไทยที่จะเป็นผู้รวบรวมพลังเสียงของคนไทยที่อยากเห็นเด็กทั่วโลกมีโอกาสเรียนหนังสือส่งไปยัง GSMA พร้อมกับเสียงของคนทั่วโลกเพื่อมอบต่อให้ UNESCO และสหประชาชาติในช่วงที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกหรือ FIFA World CUP 2010 ที่มีคนนับล้านๆ ทั่วโลกเฝ้าติดตามชม เพื่อสร้างแรงเสริมให้กับผู้นำประเทศต่างๆ ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นด้านการศึกษาของเด็กด้อยโอกาสทั่วโลก ซึ่งโครงการดังกล่าวตรงกับเจตนารมณ์ของโครงการทำดีทุกวันจากดีแทคที่ต้องการมีส่วนสนับสนุนให้เด็กทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และที่สำคัญกว่านั้น วันนี้มีเด็กทั่วโลกกว่า 72 ล้านคนที่ยังขาดโอกาสในการศึกษา หากพลังเสียงของคนไทยและเพื่อนร่วมโลกสามารถเป็นจุดเริ่มและเสริมสร้างสิ่งที่คาดหวังเหล่านี้ได้ โลกใบนี้ก็จะมีความสุขที่ยั่งยืนกว่าสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน โครงการทำดีทุกวันจากดีแทคจึงขอเชิญชวนคนไทยทุกคนร่วมกันทำความดีด้วยวิธีง่ายๆ หากท่านประสงค์ที่จะแสดงพลังร่วมกับคนทั่วโลกเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เพียงส่ง SMS พิมพ์ 1 มายังหมายเลข 1677 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าดีแทคทั้งระบบเติมเงินและรายเดือน ในระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 4 มิถุนายนนี้ และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทคจะนำเสียงของคนไทยทั้งหมดส่งมอบให้กับ GSMA เพื่อรวบรวมส่งต่อให้กับ UNESCO และสหประชาชาติเพื่อผลที่เป็นรูปธรรมทางการศึกษาต่อไป”สำหรับการประชาสัมพันธ์โครงการนั้น โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค จะส่งข้อมูลการร่วมโครงการไปยังลูกค้าผ่านทาง MMS และ SMS รวมถึงรณรงค์เผยแพร่ทางสถานีวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกันทั่วประเทศ โดยนายพีระพงษ์กล่าวขอแรงสนับสนุนจากทุกท่านที่มีสิทธิ์มีพลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาที่ดีขึ้นของน้อง ๆ ทั่วโลกได้ เพียงพิมพ์ 1 ส่งมาที่ 1677 เท่านั้น.

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไผ่ขอดอน : นายถวิล น่วมบาง

นายถวิล น่วมบาง ปราชญ์ชาวบ้าน"บ้านไผ่ขอดอน" :ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไผ่ขอดอน อยู่เลขที่ 6 หมู่ที่ 3 บ้านไผ่ขอดอน อ.เมือง จ.พิษณุโลก โทร.081-9719813
องค์ความรู้ด้านการเกษตร
เลี้ยงปลาในนาข้าว เลี้ยงกบ เลี้งหมูหลุม การขยายพันธ์พืชนานาชนิด

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลบ้านหนองกุลา : ทองปาน เผ่าโสภา

นายทองปาน เผ่าโสภา ประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนหนองกุลา อยู่เลขที่ 163 หมู่ที่ 14 บ้านหนองปลวก ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โทร.086-2063680

ประวัติการทำงาน

  • เกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2549 จาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดพิษณุโลก
  • ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6 ปี 2552
  • รางวัลเกษตรกรทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง จาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • รางวัลผู้ทำประโยชน์แก่วงการเกษตรของจังหวัดพิษณุโลก จาก เกษตรจังหวัดพิษณุโลก
  • รางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2549 จาก จังหวัดพิษณุโลก

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เกษตรผสมผสานบ้านทับหมัน จ.พิจิตร : นายสมพงษ์ ธูปอ้น


นายสมพงษ์ ธูปอ้น อยู่บ้านเลขที่ 80 หมู่ 6 บ้านทับหมัน ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร.083-9612099

คติประจำตัว

" ทั้งคู่สู้ไม่ถอย รักฝังใจ เหนื่อยหยุด หิวทาน ขยันลุก "

ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร

  • คิดค้นสมุนไพรป้องกันไข้หวัดนก
  • การปั้นเตาเผาถ่านเพื่อเก็บน้ำส้มควันไม้
  • การทำไร่นาสวนผสม
  • การเลี้ยงปลาธรรมชาติ

แนวคิดการสร้างเครือข่ายทางการเกษตร โดยต้องการให้เกษตรกรหันมาทบทวนการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง และธรรมชาติ สร้างเครือข่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกันในภูมิปัญา

รางวัลและเกียรติยศ ที่ได้รับ

  • รางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม จาก สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร
  • ปราชญ์ชาวบ้านรุ่นแรก ของชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จังหวัดพิจิตร
  • แกนนำสือสานภูมิปัญญาไทย สาขาเกษตรปลอดสารพิษ จาก กิจกรรมผู้สูงอายุรวมใจทำความดีถวายในหลวง 80 พรรษา
  • ผู้สูงอายุดีเด่น สาขาเกษตรปลอดสารพิษ จาก รพ.สมเด็จพระยุพราชตะพานหิน
  • ปราชญ์ชาวบ้าน จาก สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน จ.ตาก

วีดีโอ ตอนที่ 1

วีดีโอ ตอนที่ 2

วีดีโอ ตอนที่ 3

วีดีโอ ตอนที่ 4


เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมกับ เครือข่ายวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน โดยวิทยุ DFM 92.50 MHz จ.พิษณุโลก ร่วมด้วยช่วยกัน คลื่นความดี บริหารงานโดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค จัดโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน โดยนายประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง รักษาราชการแทนนายอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งนายโสภณ ใจลังกา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หละ กล่าวต้อนรับ และภาระกิต เจริญกองชู กล่าวรายงาน มอบของที่ระลึกโดยอุษา ประกอบทรัพย์ ผู้อำนวยการเครือข่ายวิทยุภูมิภาค บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด ณ สำนักสงฆ์บ้านแม่หละยาง หมู่ 2 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก นายโสภณ ใจลังกา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หละ กล่าวต้อนรับว่าตำบลแม่หละ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอ มีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน/ทำไร่ อาชีพเสริม เลี้ยงโค กระบือ รับจ้างทั่วไป จำนวนประชากรในเขต อบต. 7,980 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,302 หลังคาเรือน ประชากรรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองอย่างเคร่งครัด
การจัดโครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน สัมมนา “รู้ทันสุขภาพ ตามทันการเกษตร” เป็นโอกาสอันดีที่เราคนในพื้นที่จะนำความรู้ที่ได้รับจาก สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าสองยาง ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๙.๓ แม่สอด หน่วยควบคุมโรคติดต่อ ๙.๓.๑๐ อ.ท่าสองยาง สำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง และเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2551 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความร่วมมือของทุกท่านที่มีความตั้งใจที่จะนำความรู้มาเผยแพร่แก่ประชาชน นางสาวภาระกิต เจริญกองชู ผู้จัดการวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน พิษณุโลก ในนามผู้ร่วมจัดโครงการ กล่าวว่า โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน ในหัวข้อ รู้ทันสุขภาพ ตามทันการเกษตร โดยมีที่มาของโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน โดยเครือข่ายวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น. เรดิโอ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค เริ่มขึ้นปี 2551 มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในทุกๆ ด้าน อันก่อให้เกิดประโยชน์ ในการดำรงชีวิต และสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตร การพัฒนาชุมชน การพัฒนาบุคลากร หรือแม้แต่ทางด้านสุขภาพ และสาธารณสุขของชุมชน อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดโครงการแผ่นทองของแผ่นดินในครั้งนี้ ที่มุ่งเน้นในเรื่อง ภัยจากไข้หวัดนก ภัยจากโรคมาลาเรีย และเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยมีวัตถุประสงค์การจัดโครงการดังนี้
1. เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐาน รวมถึงรู้จักวิธีการป้องกันและเฝ้าระวังภัยให้ปลอดจากโรค
3. เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข
4. เพื่อให้ประชาชนในชนบท สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและยั่งยืนในถิ่นเกิดบนพื้นฐานของความพออยู่พอกิน
5. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำเกษตรกร เป็นตัวหลักในการเผยแพร่ความรู้สำหรับวิทยากรสนับสนุนทางวิชาการที่ให้การฝึกอบรมในวันนี้ได้แก่ คุณสุทิน เชื้อเทศ เจ้าพนักงานสัตวบาล ๒ สนง.ปศุสัตว์จังหวัดตาก ให้ความรู้เรื่องไข้หวัดนกในสัตว์ พร้อมบูธกิจกรรม
คุณฉัตรชัย อิ่มอ่อง นักวิชาการชำนาญการสนง.สาธารณสุขอำเภอท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่องไข้หวัดนกในคน พร้อมบูธกิจกรรม คุณกฤษณะ สุขอ่วม หน.หน่วยควบคุมโรคติดต่อ ๙.๓.๑๐ อ.ท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่องไข้มาลาเรีย และบูธกิจกรรมจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๙.๓ แม่สอด คุณวินัย เสริมตระกูล เกษตรอำเภอท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง และบูธกิจกรรมจาก สนง.เกษตรอำเภอท่าสองยาง และคุณบุญปัน ใจกว้าง เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดปี ๒๕๕๑ เล่าประสบการณ์การทำการเกษตร เพื่อเป็นประโยชน์ สำหรับเกษตรกร และครอบครัวของท่าน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก อสม.และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ตำบลแม่หละ ความพยายามเหล่านี้ เชื่อว่าจะประสบผลสำเร็จได้ ด้วยความร่วมมือ ด้วยดีจากทุกภาคส่วน ในนามผู้จัดงาน ขอขอบคุณทุกท่าน รวมทั้งสื่อมวลชน และขอขอบคุณโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย และขอบพระคุณท่านประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิด นายประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง ประธานในพิธี กล่าวว่า ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย จากโครงการในพระราชดำรินานัปการ และพระบรมราโชวาทตลอดระยะของการครองราชย์ บัดนี้ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระแสทางเลือกใหม่ของการพัฒนาประเทศที่ทำให้เราอยู่ได้อย่างยั่งยืนมั่นคงและเข้มแข็ง โดยมีการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ระหว่าง พ.ศ.2550 – 2554 จึงถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ภาครัฐมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภาคประชาชน โรคไข้หวัดนก จังหวัดตากได้มีการรณรงค์และระดมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง ฉีดยาฆ่าเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก โดยระดมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังและป้องกันไข้หวัดนก รวมทั้งอาสาสมัครปศุสัตว์-อสม.ทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อทำการพ่น ฉีดยาฆ่าเชื้อหวัดนกทั่วบริเวณพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก ทั้งไก่-เป็ด-นก-ห่าน- ฯลฯ นอกจากนี้ยังส่งเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ทั่วทั้งจังหวัดแบบ X-RAY ทุกตารางนิ้ว เพื่อฉีดยาฆ่าเชื้อและป้องกันทำลายไข้หวัดนกอย่างทั่วถึง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคไข้หวัดนกให้หมดไป ต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือ อย่างจริงจังของประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน โรคมาลาเรีย เนื่องจากพื้นที่อำเภอท่าสองยางจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่ติดชายแดนและมีผู้อพยพ ซึ่งอำเภอท่าสองยาง พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยตรวจพบเชื้อทั้งหมด (คนไทย, ต่างชาติ 1 และต่างชาติ 2) เพิ่มขึ้นสูงมากที่สุดของจังหวัดในปี 2552 โดยปี 2551 มีจำนวน 6,101 ราย เพิ่มขึ้นในปี 2552 เป็น 9,732 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.51 สาเหตุหลักคือมีการสู้รบกันในพม่าบริเวณใกล้ชายแดน และมีกลุ่มคนอพยพหนี้ภัยเข้ามาพักพิงในเขตพื้นที่อำเภอท่าสองยางจำนวนมาก บางกลุ่มก่อให้เกิดปัญหาการแพร่เชื้อขึ้นภายในหลายหมู่บ้านทั้งนี้ในส่วนวิสัยทัศน์ของการพัฒนาจังหวัดตาก มีหลายด้านแต่ที่สอดคล้องกับ โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน นั้นคือ ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง การเกษตรก้าวหน้าและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประชาชนมีจิตใจดี มีคุณธรรม จริยธรรมโดยอยู่ร่วมกันด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมเพื่อเป็นสังคมที่สงบสุข ประชาชนสนใจใฝ่รู้ในการพัฒนาตนเองและการงานอย่างต่อเนื่อง โดยแสวงหาความรู้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นสังคมแห่งการปรับตัว
การสัมมนาครั้งนี้ถือว่าสอดรับกับการดำเนินงานของหน่วยงานเป็นการร่วมมือกันทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน จึงขอขอบใจทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันดำเนินการในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสัมมนาจะก่อให้เกิดวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรค มาลาเรีย ไข้หวัดนก และพัฒนาความก้าวหน้าด้านการเกษตรต่อไป โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมจาก อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ประชาชนทั่วไปกว่า 190 คน

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศิริสมานฟาร์ม : นายศักดิ์ดา สนทิน


นายศักดา สนทิม เจ้าของฟาร์ม ศิริสมานฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ 3/2 หมู่ 6 ต.วังลึก อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย โทร.081-8875177 , 055-681254

ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ / บริหารธุรกิจ
ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน
รับราชการครู 2522 – 2540 โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยาคม บ้านด่านลานหอยวิทยา บ้านไร่วิทยาคม

กิจการปัจจุบันประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์และประมง ประกอบด้วย

เลี้ยงแม่สุกรจำนวน 300 แม่ สุกรขุน 2,400 ตัว ไก่ไข่ 28,000 ตัว ไก่สาวทดแทน 10,000 ตัว ปลาดุก 50 ตัน/ปี ลูกปลาดุก 10 ล้านตัว/ปี ปลานิล 30-50 ตัน/ปี ปลาสวาย 20 ตัน/ปี

ประสบการณ์การทำงานด้านเกษตร
  • ปี พ.ศ.2529 เริ่มเลี้ยงสุกรขุน 20 ตัว เห็นว่ากิจการไปได้ ค่อยๆเพิ่มการเลี้ยงทีละน้อย
  • ปี พ.ศ.2533-34 ตั้งกิจการฟาร์มเลี้ยงสุกร ขุน จำนวน 300 ตัว เพิ่มเลี้ยงแม่สุกร 10 แม่ เพิ่มเลี้ยงเป็ดไข่ 1500 ตัว เพิ่มจำนวนแม่สุกรเรื่อยๆ
  • ปี พ.ศ.2536 เลี้ยงไก่ไข่เพิ่มเติม 3,000 ตัว เลิกเลี้ยงเป็ดไข่ ตลาดหันมานิยมไข่ไก่
  • ปี พ.ศ.2538 ขยายการเลี้ยงแม่สุกรเป็น 170 แม่ เพื่อผลิตลูกเลี้ยงขุนเองทั้งหมด เลี้ยงไก่ไข่เพิ่ม เป็น 7,000 ตัว เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ 10 ไร่ ไม่เหมาะการเลี้ยง จึงย้ายไปเลี้ยงที่ใหม่ ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงไปเลี้ยงแบบผสมผสาน ลดมลภาวะ พื้นที่ ใหม่เริ่มแรกจำนวน 45 ไร่
  • ปี พ.ศ.2538 เพิ่มขยายการเลี้ยงแม่สุกร เป็น 200 แม่ ไก่ไข่ 10,000 ตัว โดยเตรียมย้ายกิจการมายังพื้นที่ใหม่ในปัจุบัน
  • ปี พ.ศ.2540 เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ฟาร์มที่กำลังเติบโตประสบปัญหาโดยตรง ต้นทุนค่าอาหารสูงขึ้นมาก ราคาไข่ไก่ สุกรตกต่ำ ขาดสภาพคล่อง ธนาคารคืนวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยสูง ลดการผลิต เพื่อความอยู่รอด หนี้สินเพิ่มมหาศาลอย่างไม่คาดคิด
  • ปี พ.ศ.2542 ปรับโครงสร้างหนี้สิน ขอเพิ่มเงินกู้เพื่อนำมาลงทุน และใช้หมุนเวียนในกิจการ ชะลอการส่งเงินต้น
  • ปี 2544 ขยายกิจการเพิ่มเติมเพราะเห็นว่า จะชำระหนี้ธนาคารไม่หมดแน่ นำกำไรมาลงทุนบางส่วนและปรับปรุงฟาร์มบางส่วน
  • ปี พ.ศ.2545 ดำเนินกิจการด้วยดีมาตลอด
  • ปี พ.ศ.2547 เกิดวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก ไข่ไก่ราคาตก ฟองละไม่ถึงบาทอยู่หลายเดือน แต่ภาวะราคาหมูกลับสูงขึ้นเพราะคนหันมากินหมู
  • ปี พ.ศ.2549 ราคาสุกรตกต่ำ เนื่องมีการขยายการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง ราคาต่ำสุด 28 บาทต่อกก. ขณะต้นทุน สูงถึง 42-45 บาท
  • ปี พ.ศ.2550 วิกฤตอาหารโลกและราคาน้ำมันสูง ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับขึ้นมาก เช่น ปลายข้าว จาก 9 บาทไปเป็น 14 บาท ต้นทุนสูงขึ้นไปเป็น สุกร 53 บาท ไข่ไก่ 2.5 บาทต่อฟอง ขณะราคาขายต่ำกว่ามาก
  • ปี พ.ศ.2551-ปัจจุบัน กิจการดำเนินด้วยดี แม้มีหนี้สินบ้าง เนื่องจากภาวะวิกฤต

ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน

เกิดวิกฤต ปี พ.ศ.2540 ศึกษาอาหารสัตว์ที่จะผสมใช้เองอย่างจริงจัง และสามารถผสมใช้เองทั้งหมดในฟาร์มลดต้นทุนการผลิตได้ปรับวิธีการเลี้ยงสุกร เน้นการจัดการ และเก็บข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้นมาก วางระบบการบริหารงานฟาร์ม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงานด้านการเลี้ยง

เริ่มเลี้ยงปลา ปี พ.ศ.2537 โดยเลี้ยงใต้เล้าไก่ ศึกษาแบบอย่างจากเชียงราย พัฒนาการรอดของลูกปลาดุก การเลี้ยงปลาดุกเชิงการค้า พัฒนาเครื่องผลิตอาหารปลาขึ้นใช้เองในฟาร์ม การเลี้ยงปลาผสมผสานโดยใช้มูลไก่ สุกร การนำน้ำที่เลี้ยงปลาดุกไปปลูกพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด


ด้านการตลาด
สร้างแบรนด์ไข่ไก่ โดยใช้ชื่อว่า ไข่โอชา เพื่อเพิ่มทางการตลาด พัฒนาตัวสินค้า สุกรขุน ให้ตลาดเป็นที่ยอมรับ

พัฒนาการรอดของปลาดุก

ศึกษาการเทคนิควิธีการอนุบาลลูกปลาดุกตุ้ม ปัญหา การอนุบาลลูกปลามักประสบปัญหาจำนวนลูกปลาเหลือรอดน้อย การศึกษา
- เพิ่มจำนวนแพลงตอนสายคอเรลลา
- เพิ่มจำนวนไรแดงในบ่อดิน
- ลดปัญหาการหมักเน่าน้ำพื้นล่าง
ปัจจุบัน พัฒนาการรอดเฉลี่ย 50 % สูงสุด 70 %

พัฒนาเครื่องผลิตอาหารขึ้นใช้เอง

เริ่มต้นใช้เครื่องบดเนื้อ พยายามอัดเม็ด สร้างสูตรอาหารโดยศึกษาจากหนังสือและตำราต่างๆ ศึกษาจากคู่มือทางวิชาการ เกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยง สร้างและพัฒนาโดยการลองผิดลองถูก พัฒนาเครื่องให้มีขนาดใหญ่และทนทานมากขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องอัด 2 เครื่อง

การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

  • ฟาร์มเป็นแหล่งให้ความรู้ แก่เกษตรกรหลายครั้ง
  • เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงมากมายหลายครั้ง
  • เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าทำงานช่วงปิดภาคเรียนและให้นักศึกษาเข้าฝึกงาน
  • ปัจจุบันฟาร์มเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
  • เป็นศูนย์สื่อสารด้านราคา สุกร วัตถุดิบ อื่นๆ นอกเหนือจากการให้ความรู้

การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

  • สิ่งที่ภูมิใจคือ การเลี้ยงสุกรไก่ไข่ ไม่มีกลิ่น น้ำเสีย สกปรก
  • การพัฒนาระบบการเลี้ยงที่เกื้อกูล ใช้เทคนิคเชิงวิทยาศาสตร์ ที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้
    นำมูลสัตว์ น้ำเสีย ของเหลือ วัชพืช นำไปเลี้ยงปลาให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหาเรื่องมลภาวะ

การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มมุ่งสู่ปศุสัตว์อินทรีย์

  • อาหารสัตว์ในฟาร์มไม่มียาต้องห้าม
  • ใช้ยาปฏิชีวนะเพียงเพื่อป้องกันโรคมากกว่าการรักษา
  • ใช้จุลินทรีย์ลักษณะโปรไอติกในอาหารสัตว์
  • การเลี้ยงเน้นการจัดการ มากกว่าการใช้ยา เช่น ความสะอาด การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฟาร์มฉัตรพันธ์ปลา : นายจำรุณ รอดทับทิม

นายจำรุญ รอดทับทิม เจ้าของฟาร์มปลาเงินล้าน "ฉัตรพันธุ์ปลา" กว่า 13 ปีที่ตั้งมั่นเพาะพันธุ์ปลาคุณภาพ คู่คุณธรรม ยึดมั่นคติที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน"อยู่ที่บ้านเลขที่ 93 หมู่ที่ 3 บ้านไผ่คอม ตำบลปากโทก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันจำหน่ายพันธุ์ปลาหลากหลาย อาทิ ปลาบึก ปลาทับทิมแปลงเพศ ปลาดุก ปลาสวาย ปลาไน ปลานิล ฯลฯ สอบถามติดต่อได้ที่ โทร.081-9727995 , 081-9729811 ,081-7791353

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตนเองบ้านวังขาม

นายสุพัฒน์ ภมรพิพัฒน์ ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตนเองบ้านวังขาม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 73/1 หมู่ที่ 3 บ้านวังขาม ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร.084-9512413 , 056-820241

ประวัติส่วนตัว

นายสุพัฒน์ ภรมพิพัฒน์ เกิดปี พ.ศ.2490 อาชีพเกษตรกรรม ภูมิลำเนาเดิมย้ายยมาจากจังหวัดนครราชสีมา มีบุตร 1 คน สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายสุพัฒน์ ภรมพิพัฒน์ เดิมมีหนี้สินมากมาย เตยไปขายแรงงานที่ต่างประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อกลับมาเมืองไทยจึงมุมานะทำการเกษตรจนสามารถใช้หนี้ได้หมดโดยทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมประกอบกับเป็นบุคคลที่มีความมานะอดทนช่างสังเกตุ และหมั่นเรียนรู้เข้าศึกษาอบรมตามที่หน่วยงานต่างๆ ได้จัดอบรมจึงเรียนรู้ทุกอย่างรวดเร็วและได้รับการคัดเลือกให้เป็นวิทยากรหมอดินประจำอำเภอ ปัจจุบัน มีพื้นที่ประกอบการเกษตรทั้งหมด 61 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าว 14 ไร่ ปลูกข้าวขาวดอกหอมมะลิ 105 ผลผลิต 80 ถัง/ไร่ และข้าวพันธุ์ชัยนาทได้ผลผลิต 105 ถัง/ไร่ (ใช้น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ และสมุนไพรไล่แมลง) มีพื้นที่ปลูกสัก 8 ไร่ มีการปลูกอ้อยสาธิต 8 แปลง พื้นที่ปลูกอ้อย 35 ไร่ แปลงที่ได้ผลดีได้ไร่ละ 23 ตัน/ไร่ โดยการปลูกปอเทือง ก่อนปลูกอ้อย พื้นที่ปลูกบ้าน 4 ไร่ (คอกสัตว์ โรงเก็บพัสดุ แปลงผักและผลไม้ เช่น มะกรูด ชมพู่ มะขามเทศ มะม่วง ลำไย มะเฟือง กล้วยน้ำหว้า มะละกอ กวางตุ้ง มะนาว มะพร้าว ต้นหอม กระเทียม มะเขือ และสมุนไพร)ความคิดริเริ่ม จัดทำปุ๋ยหมักใช้เองปีละ 4-5 ตัน จากมูลสัตว์ที่เลี้ยงเองภายในครอบครัว โดยใช้สารเร่ง พด.1 และทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชและสัตว์โดใช้สารเร่ง พด.2 จัดทำสารสกัดพืชสมุนไพรและฆ่าแมลง โดยใช้ หางไหล ใบน้อยหน่า หนอนตายอยาก สาบเสือ ใบยูคาลิปตัส- จัดทำน้ำส้มควันไม้ โดยติดตั้งเตาเผา จำนวน 2 เตา การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน โดยการปลูกถั่วเขียว ปอเทือง เป็นพืชบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยชีวภาพมาประมาณ 8-9 ปี ประสบความสำเร็จในการใช้ผลผลิตดีโดยไม่ใช่ปุ๋ยเคมี ทำไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง นำเอามูลวัวมาจัดทำบ่อแก๊สชีวภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ ทำการเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

รางวัลที่ได้รับ

-ได้รับรางวัล ผู้นำอาชีพก้าวหน้า ระดับจังหวัด ประจำปี 2540 จากกระทรวงมหาดไทย

- ได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว ลำดับที่ 3 ของประเทศ ประจำปี 2541 โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

- ได้รับรางวัลที่ 1 โคนมเพศเมีย อายุ 12-18 เดือน จากการประกวดสัตว์ระดับเขต ของสำนักงานปศุสัตว์ เขต 6 จังหวัดพิษณุโลก ประจำปี 2544

- ได้รับดัดเลือก โดย กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหมอดินอาสาดีเด่น ประจำตำบลระดับจังหวัด ประจำปี 2547

- เป็นศูนย์การเรียนรู้ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลสระกรวด ด้านไร่นาสวนผสม - เป็นศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ดินของสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์

- เป็นศูนย์การเรียนรู้ของปศุสัตว์อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

- เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด โดยในปี 2551 อบรมจำนวน 130 คน ปี 2552 อบรม จำนวน 150 คน โดยยึดหลักการให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน