วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูปทั่วไทย

คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับคณะสงฆ์ทั่วปรเทศ วัพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย และชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้มีมโนปณิธานสานสัมพันธ์ จัดโครงการ อุปสมบทหมู่ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ทำให้มีชายไทยได้มาอุปสมบท อบรมศีลธรรม เกิดศาสนทายาทขึ้นมากมาย จึงได้จัด โครงการ อุปสมบทหมู่ 100,000 รูป เข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ขึ้นเพื่อให้กระแสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่ปกคลุมทั่วผืนแผ่นดินไทย ให้ดับร้อน ฝ่าวิกฤติภัย ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง โดยรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ call center 0-2831-1234 หรือ www.dmycenter.com

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สวนลองกอง : นางประทุม วาทมธุรส

คุณประทุม วาทมธุรส เจ้าของสวนลองกอง 5 ไร่ ปลูกแบบผสมผสาน อยู่ที่ 187 หมู่ที่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โทร. 081-888-3318

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงการผ่าตัด เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ครั้งที่ 3 ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก


โครงการผ่าตัด เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ครั้งที่ 3 โดยความร่วมมือระหว่างโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค เยาวชนจากประเทศนอร์เวย์ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม (Operation Smile) และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก วันที่ 6 สิงหาคม 2553

ดีแทค มูลนิธิ Operation Smile ร่วมด้วยช่วยกัน แฮปปี้ สเตชั่นและเยาวชนจากประเทศนอร์เวย์ร่วมกันจัดทำโครงการ “ทำดีด้วยใจ เพื่อความสุขและรอยยิ้มของเด็กไทย ครั้งที่ 3” เพื่อสนับสนุนการผ่าตัดฟรีแก่เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ความพิการบนใบหน้า นิ้วติดกัน หรือนิ้วเกิน จำนวน 100 คน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติโดยจัดให้ลูกค้าดีแทคสามารถมีส่วน ร่วมกับโครงการได้ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงพิมพ์ 1 ส่งมาที่หมายเลข 1677 1 SMS ดีแทคบริจาค 1 บาท เพื่อเป็นทุนในการผ่าตัดจนกว่าจะครบ 1,500,000 บาท สำหรับผ่าตัดเด็กจำนวน 100 คน โดยผู้ส่ง SMS จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เริ่มตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2553 เพื่อเป็นการสร้างกระแสความดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
(พิเศษ สำหรับลูกค้าดีแทค ระบบเติมเงิน อาจเป็นผู้โชคดีรับค่าโทรฟรี 150 บาท วันละ 10 รางวัล)
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
รายการร่วมด้วยช่วยกัน จ.พิษณุโลก โทร.055-212445-6
E-mail : inn_radio@hotmail.com

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สำนึกรักบ้านเกิด : ผู้นำชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด

พวกเราคือผู้นำชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด ผลึกกำลังเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ จากปราชญ์ชาวบ้าน จากทุกชุมชนทั่วประเทศ ส่งต่อทุกความรู้ที่ได้มาคืนสู่สังคม ผ่านเครือข่าย *1677 (Dtac) อุดมการณ์เพื่อปลี่ยนแปลงประเทศไทย ตามรอยพ่อ อยู่อย่างพอเพียง

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คลิปวีดีโอรณรงค์งดเผาตอซังฟางข้าว : กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมควบคุมมลพิษ

ผลเสียจากการเผาตอซังข้าว
เกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวโดยทำการเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการไถเตรียมดิน หรือเพื่อต้องการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชนั้นจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซังข้าว กล่าวคือ

1.ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป อนุภาคของดินจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำให้รากพืชแคระแกร็น
2.สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินคาร์บอนและอินทรียวัตถุในดินเมื่อถูกเผาจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไปในบรรยากาศ ส่วนธาตุอาหารจะแปรสภาพให้อยู่ในรูปที่สามารถสูญเสียไปจากดินได้ง่าย
3. ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินลดลง เช่น กิจกรรมการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศให้อยู่ในรูปของสารประกอบไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ การแปรสภาพอนินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ และการย่อยสลายอินทรียสารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน นอกจากนั้นตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังพืชรวมทั้งจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกเผาทำลายไป ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น
4. สูญเสียน้ำในดิน การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส น้ำในดินจะระเหยสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว ให้ความชื้นของดินลดลง

แหล่งข้อมูลโดย : กลุ่มระบบงานวิจัย กองแผนงาน กองแผนงาน ร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรียวัตถุเพื่อการเกษตรสำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน

โครงการ ทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลพันเสา : พิษณุโลก


รายการร่วมด้วยช่วยกัน บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด โดรงการ ทำดีทุวัน จาก ดีแทค ร่วมกัน เทศบาลตำบลพันเสา อำเภอบางนะกำ จังหวัดพิษณุโลก จัดโครงการ สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลพันเสา

ความเป็นมา หลักการและเหตุผล

ประชากรตำบลพันเสาประกอบอาชีพเกษตรกรรม 85% พื้นที่มีคลอง หนอง และบึงจำนวนมาก เหมาะแก่การปรับปรุง กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง แหล่งเพาะพันธุ์ปลา และพัฒนาเกษตรก้าวหน้า ซึ่งข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ตำบล พันเสา ตามแผนที่ระบบ GIS ของกรมที่ดิน ได้แสดงภูมิประเทศ แหล่งน้ำทรัพยากรป่าไม้ เส้นทางคมนาคม และความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์จังหวัดพิษณุโลก คือ เกษตรกร และองค์กรเกษตรกรมีการจัดการผลิตการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ตามความต้องการของตลาด และเป็นเมืองที่ชุมชนมีความเข้มแข็งยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม และเป็นศูนย์กลางบริการด้านการส่งสินค้า

ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย
กลยุทธ์สนับสนุนและส่งเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยในภาคเกษตร สนับสนุนโครงการสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตร พัฒนาให้ความรู้และเทคนิควิธีการในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประชากรตำบลพันเสาประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ยังไม่มีศูนย์เรียนรู้ประจำตำบล โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด สถานีวิทยุ DFM ๙๒.๕๐ MHz ร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดพิษณุโลก คลื่นความดี และเทศบาลตำบลพันเสา เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการ ทำดีทุกวัน ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างศูนย์เรียนรู้ตำบลพันเสา ขึ้น

เพื่อให้เกษตรกรได้มีแหล่งรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพร่วมกันต่อไปวัตถุประสงค์
๑.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกรตำบลพันเสา และเป็นที่ศึกษาดูงานต่อไปในอนาคต
๒.เพื่อนำแนวทางการพัฒนาใช้กับเกษตรกร
๓.เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องของการผลิต และจำหน่ายสินค้าเกษตร
๔.เพื่อตอกย้ำอุดมการณ์สำนึกรักบ้านเกิดและแสดงถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนคุณแผ่นดินโดยนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
๕.เพื่อให้เกษตรกรที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตร ได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาโดยมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิด
๖.เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประชาสัมพันธ์ *1677
๗.เพื่อให้องค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป ได้รู้จักร่วมด้วยช่วยกันมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย
เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๑๕๐ คน

เป้าหมายการดำเนินงาน
๑.เป็นแหล่งอาหารปลอดสารพิษให้กับประชาชนตำบลพันเสาและประชาชนตำบลใกล้เคียงรวมถึงประชาชนจังหวัดพิษณุโลก
๒.เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดสารพิษให้กับโรงพยาบาลและส่วนราชการ และประชาชนทั่วไป
๓.เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าเกษตรของตำบลพันเสาและในอนาคตเป็นแหล่งซื้อขายของจังหวัด
๔.ประชาชนตำบลพันเสามีอยู่มีกินและพึ่งพาตนเองได้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
๕.ประชาชนทำการเกษตรแล้วไม่ต้องกลัวหาตลาดไม่ได้เนื่องจากศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะหาตลาดให้
๖.กลุ่มหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ได้มีสถานที่ในการศึกษาที่เพียงพอ
๗.ให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ให้ได้ความรู้กลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างอาชีพและเสริมรายได้
๘.ให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นสถานที่แปลงเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ม.๓ ต.พันเสา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องเกษตรกรรมอย่างถูกต้อง สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในด้านการเกษตรของตนเอง เพื่อเกษตรกรจะได้กินดีอยู่ดี และมีชีวิตที่ดีขึ้น เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องของการบริหาร การจัดการ และการฟื้นฟูอาชีพที่มั่นคงมากขึ้น
๒.เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกแก่เกษตรกรให้มีการสำนึกรักบ้านเกิดและแสดงถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนคุณแผ่นดิน
๓.เพื่อให้เกษตรกรนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ในด้านเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์
๔.มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้ผลตอบรับเป็นดี
๕.เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677 ทั้ง ๓ หมวดประกอบด้วย หมวดทุ่งรวงทอง หมวดสวนเงินไร่ทอง หมวดปศุสัตว์เศรษฐี ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้ามาเรียนรู้ในศูนย์ ได้รู้จักทางด่วนข้อมูลการเกษตรมากขึ้นและนำไปใช้ได้จริงในพื้นที่กำหนดการ

กำหนดการ โครงการ ทำดีทุกวัน ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างศูนย์เรียนรู้ตำบลพันเสา
วันอังคารที่ 8 มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา 08.00-12.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ตำบลพันเสา หมู่ ๓ ต.พันเสา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

สอบถามเข้าร่วมโครงการได้ที่
รายการร่วมด้วยช่วยกัน จ.พิษณุโลก FM 92.50 MHz.
57/12 ถนนพระองค์ดำ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
โทร.055-212445-6 และ 1677 (ดีแทคโทรฟรี)

เทคนิคการปลูกแตงแคนตาลูป : นายเมธี ลาสูง

นายเมธี ลาสูง เกษตรกรผู้ปลูกแตงแคนตาลูปปลอดสารพิษ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนม่วง อยู่ที่ 349/3 หมู่ที่ 10 บ้านดอนม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ขอคำปรึกษาและเยี่ยมชมแปลงปลูก โทร.086-5913021