วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตำนานวีรกรรม "ขุนรองปลัดชู"


กรุงศรีอยุธยา ( พ.ศ.2302 2303 ) สมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์พระเจ้าอลองพญาทราบเหตุว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดแผ่นดินจึงได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองมะริด และเมืองตะนาวศรี หัวเมืองของกรุงศรีอยุธยา โดยอ้างเหตุว่าให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏมอญ เมื่อยึดได้เมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีแล้ว พระเจ้าลองพญาก็ได้เคลื่อนทัพผ่านทางด่านสิงขร เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาทราบเรื่อง พระเจ้าทัศน์ได้รับสั่งให้พระยายมราชคุมพลเป็นทัพหน้าออกมาต่อกรกับทัพพม่าที่ด่านสิงขร และให้พระยารัตนาธิเบศเป็นแม่ทัพคุมพลเข้ามาตั้งรับทัพพม่า ที่เมืองกุยบุรี ขณะนั้น ขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษชัยชาญ เป็นผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในการรบ และคงกระพันชาตรี เข้ามารับอาสากับไพร่สี่ร้อยคน ขอไปรบกับพม่า ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นกองอาทมาต (หน่วยรบพิเศษ) ร่วมทัพมากับพระยารัตนาธิเบศ ทัพของพระยายมราช เข้าปะทะกับทัพของพม่าที่เมืองแก่งตุมด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงแตกพ่ายถอยรุ่นไม่เป็นขบวน พระยารัตนาธิเบศตั้งค่ายมั่นอยู่ ณ เมืองกุยบุรี แจ้งว่าทัพพม่ายกพลมาเป็นจำนวนมาก อาจต้านทานไว้ไม่ไหว จึงสั่งการให้เกณฑ์ไพร่พล และเร่งอพยพผู้คนหลบหนีพม่า และหวังรวบรวมผู้คนเพื่อไปตั้งมั่นรับพม่าที่ชานพระนคร ครั้งนั้น ขุนรองปลัดชู ได้อาสาขอต้านทานทัพพม่าด้วยกำลังพลเพียงสี่ร้อยนาย เพื่อยันทัพข้าศึกและเปิดทางให้รี้พลได้หลบหนี พระยารัตนาธิเบศ จึงได้แบ่งไพร่ให้อีกห้าร้อยนายไปช่วยกองกำลังของขุนรองปลัดชู ในการต่อต้านทัพพม่า



ณ ชายหาดหว้าขาวชายทะเล (บ้านทุ่งหมากเม่า ตำบลอ่าวน้อย) เวลาเช้าตรู่ ขุนรองปลัดชูพร้อมกับเหล่าทหาร ตั้งท่ารอทัพพม่าอยู่ด้วยจิตใจห้าวหาญ เมื่อเห็นกองทัพพม่าก็กรูกันออกโจมตีทัพหน้าของพม่ารบกันด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอนกัน แทงพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก และตัวขุนรองปลัดชูท่านถือดาบสองมือ วิ่งเข้าท่ามกลางข้าศึก ฟันพม่าล้มตายก่ายกองดั่งขอนไม้ ด้วยกำลังพลเก้าร้อยต่อทัพพม่านับหมื่นที่ยัดเยียดหนุนเนื่องกันเข้ามาต่อรบได้รบกันอยู่ตั้งแต่เข้าจนถึงเวลาเที่ยง ขุนรองปลัดชูไม่คิดถอยหนี ต่อสู้ทัพพม่าจนเหนื่อยอ่อนสิ้นกำลัง ถูกกองทัพพม่าใช้พลทัพช้างขับช้างเข้าเหยียบจนล้มตาย ต่างพากันถอนร่นลงทะเล จนจมน้ำทะเลตายเสียสิ้น กองทัพพม่าจึงมีชัย พระยารัตนาธิเบศจึงได้เร่งเลิกทัพหนีมากับทัพพระยายมราช กลับมาถึงพระนครขึ้นเฝ้ากราบทูลว่า ศึกพม่าเหลือกำลังจึงพ่ายฝ่ายทัพพม่าเมื่อมีชัยเหนือกองทหารเก้าร้อยคน ก็เหนื่อยอ่อนหยุดทัพพักผ่อน ก่อนเดินทัพเข้าเมืองกุย เมืองปราณ เมืองชะอำ เมืองเพชรบุรี เมืองราชรี เมืองสุพรรณบุรี โดยไม่มีหัวเมืองใดต่อรบกับพม่าเลย และต่อมาชาววิเศษชัยชาญ ได้ร่วมกันสร้างวัดสี่ร้อยเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ตราบจนถึงปัจจุบัน



ในบันทึกของพม่าในกาลต่อมากล่าวว่า การตีกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น ได้มีการต่อสู้กองทัพของกรุงศรีอยุธยา ที่ช่องเขาแคบๆ ริมทะเลอย่างประจัญบาน ดุเดือด ก่อนเข้าเมืองกุย เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี โดยง่ายหากกองทัพกรุงศรีอยุธยา มีคนอย่างขุนรองปลัดชู ไหนเลยเราจะเสียกรุงศรีอยุธยา และหากคนประจวบคีรีขันธ์ ยังไม่รู้จักวีรกรรมที่หาดหว้าขาว ไหนเลยวิญญาณของนักรบไทย จะได้รับการยกย่องความดี ความกล้า ความเสียสละต่อชาติ ต้องไม่ถูกลืม ขอยกย่องวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ณ ดินแดนเมืองประจวบคีรีขันธ์


ขุนรองปลัดชู : เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ สุขุม รอบคอบ รักแผ่นดินยิ่งชีพ เป็นผู้นำชาวบ้าน 400 คน เข้าต่อกรกับทัพพม่าเพียงลำพัง



คำขวัญประจำจังหวัดประจวบคิรีขันธ์


" โรงสีข้าวพระราชทาน ตำนานเขาตาม่องล่าย หลากหลายกสิกรรม พระนอนใหญ่เขาถ้ำ วีรกรรมขุนรองปลัดชู "