วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการจักสานกลุ่มศิลปะประดิษฐ์ตำบลท้อแท้ จังหวัดพิษณุโลก

นางน้ำเชี่ยว มากศรทรง กลุ่มศิลปะประดิษฐ์ตำบลท้อแท้ 19 ม.2 บ้านท่าช้าง ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โทร.055-291541 , 081-6053268

การตัดแต่งกิ่งมะปรางสวนตาพ้อม

นายพร้อม เฉียบแหลม อยู่ที่บ้านเลขที่ 67 หมู่ที่ 3 ตำบลวังพิณพาทย์ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โทร.081-0450040

นายพร้อม เฉียบแหลม กล่าวว่าตนเองมีความเชื่อมั่นที่ว่า "ดินดี น้ำดี พันธุ์ดี ขยันดี" พื้นที่ของอำเภอสวรรคโลก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นและอากาศดี เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตรและพืชสวนเป็นอย่างยิ่ง โดยเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดินให้มีชีวิตด้วยการนำวัชพืชที่เหลือใช้ เช่น ซังถั่ว ฟางข้าว ที่ชาวไร่ชาวนาจะเผาทิ้ง รวมทั้งใบไม้และเศษวัชพืชในสวนที่กำจัดทิ้ง ผสมกับมูลสัตว์ที่หาได้ง่ายในหมู่บ้าน นำมากองรวมกันหมักด้วยสารจุลินทรีย์ อี เอ็ม ตามวิธีการ จะเป็นปุ๋ยหมักอย่างดีนำไปใส่ให้กับต้นไม้ก็จะเจริญงอกงาม ส่วนสารเคมีนั้นจะหันมาใช้สารสกัดจากสะเดาหมักตามวิธีการ ผสมกับยาเส้น (ยาฉุน) นำไปฉีดไล่แมลง นอกจากนั้นยังได้นำสมุนไพรไทยมาสกัดเป็นยาฉีดพ่นไล่แมลงอย่างได้ผลอีกมากมาย เช่น ข่า ตะไคร้ ขิง บอระเพ็ด เป็นต้น เพราะการสมดุลทางธรรมชาติ และเน้นที่ความสะอาดของสวนเป็นหลักทำให้แมลงที่ไม่มีประโยชน์ในสวนจะมีน้อยมาก นอกเหนือจากนั้นเศษผลไม้ที่ตกหล่นหรือไม่มีคุณภาพ ก็ยังสามารถนำมาหมักกับจุลินทรีย์ให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยชีวภาพให้กับต้นไม้ผลทางดินอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนน้ำที่หมักได้นั้นนำไปผสมกับน้ำสะอาดตามอัตราส่วน นำไปฉีดพ่นต้นพืชทางใบ เป็นฮอร์โมนพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย

หน่วยงานของรัฐได้นำเกษตรกรและผู้สนใจเข้าไปศึกษาวิธีการและนำไปปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ นอกจากนี้พื้นที่อำเภอสวรรคโลกมีแม่น้ำยมไหลผ่านตลอดทั้งปี สวนของนายพร้อม เฉียบแหลม อยู่ติดกับริมแม่น้ำ จึงเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชสวนต่างๆ เป็นอย่างมาก นายพร้อม ได้หาวิธีการนำน้ำจากแม่น้ำยมขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการวางท่อสูบน้ำขึ้นมา

ส่วนในเรื่องของพันธุ์ดีนั้น เดิมชาวสวนมักจะไม่มีการพัฒนาพันธุ์ดี ยังคงปลูกพืชสวนซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองตามแบบนิยม ผลผลิตออกมาขายได้ราคาไม่ดี ไม่มีผู้นิยม ไม่ตรงตามความต้องการของท้องตลาด นายพร้อม เฉียบแหลม จึงทำการศึกษาค้นคว้า และหาพันธุ์ไม้ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครปลูกในท้องถิ่น การพัฒนาพันธุ์ไม้ในสวนอย่างไม่หยุดยั้งจากแหล่งที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้ในทุกภาคของประเทศไทยจนเป็นผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป อาทิ ไม้ผลกระท้อนได้พัฒนาพันธุ์เดิม คือ พันธุ์ทับทิม พันธุ์อีล่า มาเป็นพันธุ์ทองกำมะหยี่ พันธุ์นิ่มนวล มะปราง-มะยงชิด ก็พัฒนาจากพันธุ์พื้นเมืองเดิม จนมาเป็นมะปราง-มะยงชิด ที่ให้ผลใหญ่ขนาดเท่าหรือใหญ่กว่าไข่ไก่ ฯลฯ

เทคนิคการเสียบยอดสะเดาทวาย

สวนลุงบุญช่วย มั่นคง เกษตรกรคนเก่งจังหวัดสุโขทัย อยู่ที่เลขที่ 87/1 หมู่ 5 ตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย โทร.086-213902

นายบุญช่วย มั่นคง เกษตรกรบ้านโรงเจ๊ก อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ทำสวนไม้ผล ในพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ที่ผ่านมาได้ใช้สารเคมีฉีดพ่นไม้ผลในสวน ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ดินมีสภาพเสื่อมโทรม ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพต่อมาได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ให้ไปศึกษา อบรมและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สารสกัดสมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช และการผลิตน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีโดยนำสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ข่า ใบสาบเสือ พริกแห้ง กระเทียม บอระเพ็ด เปลือกมังคุด ฝักคูณ ไพล กระทือ สับให้ละเอียด ใส่ในถังตุ๋น 200 ลิตร นำน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตได้ ใส่ลงไปจนท่วมสมุนไพรในถัง และควบคุมความร้อนด้วยเทอโมมิเตอร์ ให้ได้อุณหภูมิประมาณ 60 ถึง 70 องศาเซลเซียส ต้มทิ้งไว้นาน 10 ถึง 15 ชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้สารต่างๆ ที่อยู่ในสมุนไพรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นำไปเก็บไว้ในถัง เมื่อจะใช้ฉีดพ่น ให้นำสมุนไพรที่ตุ๋นได้ 50 ซีซี ผสมน้ำส้มควันไม้ 50 ซีซี น้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ช่วยกำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง และแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิดจากที่ใช้สารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันนี้เกษตรกรได้เปลี่ยนมาใช้สารสกัดสมุนไพรสูตรน้ำตุ๋นทั้งหมด โดยไม่ใช้สารเคมีเลย ช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก

สารคดีเกษตร : สูตรน้ำตุ๋นสมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช

http://www.ch7.co.th/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=42517

วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

การปลูกข้าวแบบนาโยน

นาโยน คือ การปลูกข้าวแบบโยนกล้า (parachute) เป็นการทำนาแบบใหม่ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างนาดำ กับนาหว่านน้ำตม เป็นวิธีการโยนตุ้มต้นกล้าที่เพาะไว้แล้วลงในแปลง ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนการถอนกล้าปักดำด้วยแรงงานคน และการปักดำด้วยเครื่องได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า แต่ได้ผลผลิตไม่แตกต่างจากการปักดำด้วยเครื่อง หรือด้วยคน หรือการหว่านน้ำตม ที่สำคัญ คือสามารถควบคุมวัชพืชโดยเฉพาะข้าววัชพืชที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงได้ผลเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ และสารเคมีกำจัดวัชพืชลง

แหล่งข้อมูลเรียบเรียง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ หาญวงษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก

ที่ติดต่อ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 055-298438-39 โทรสาร 055-298440 มือถือ 084-6185733

บทสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ผลิตข้าวนาอินทรีย์ บ้านใหม่เจริญผล นายประสิทธิ์ ดีชูเม็ง เลขที่ 239 หมู่ที่ 2 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

โทร.083-9570219

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

โครงการวิจัยกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชน

ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.จรัณธร บุญญนุภาพ คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร บรรยายและให้ความรู้เชิงวิชาการและผู้เข้าร่วมโครงการ

ภาพแสดงสภาพพื้นที่ที่เกิดความเสียหายจากน้ำป่ากัดแซะในปีที่ผ่าน

บรรยากาศผู้เข้าร่วมโครงการ

มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพิษณุโลก จัดโครงการ โครงการวิจัย เรื่อง ”กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชน บนฐานของการใช้ระบบฐานข้อมูลแบบมีส่วนร่วมของประชาชน” โดยการสนับสนุนของ แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีความประสงค์จะจัดเวทีนโยบายสาธารณะ เรื่อง “การกำหนดร่างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์”

เพื่อระดมความคิดเห็นของภาคีเครือข่าย ในการร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตำบลแม่พูล โดยมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในสวนไม้ผลผสมบริเวณภูเขาสูงชัน รวมถึงกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันดินถล่มและการชะล้างพังทลายของหน้าดินบนพื้นที่ลาดชัน

โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.เพื่อรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลแม่พูล
2.เพื่อสรุปประเด็นปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลแม่พูล
3.เพื่อระดมความคิดในการหาแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดร่างนโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ตำบลแม่พูล
4.เพื่อนำร่างนโยบายสาธารณะที่ได้จากการระดมความคิด มากำหนดนโยบายสาธารณะและดำเนินโครงการ
กิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2553 - 2555) ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูลโดยมีกลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมนักวิชาการและผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรอำเภอลับแล เกษตรตำบลแม่พูล นายกและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูล หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านผามูบ กำนันตำบลแม่พูล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 11 ในตำบลแม่พูล หมอดินอาสาประจำตำบลแม่พูล หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 11 สื่อมวลชนท้องถิ่น (ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดอุตรดิตถ์) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 35 คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
เพื่อนำร่างนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการระดมความคิดหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหามากำหนดนโยบายสาธารณะ โครงการและกิจกรรมที่ได้ร่วมกันกำหนดเพื่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ปฏิบัติ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากชุมชนในท้องถิ่น เพื่อดำเนินการปรับแก้นโยบายและโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน แล้วนำนโยบายสาธารณะและโครงการที่ได้ปรับแก้แล้วเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อผลักดันให้นโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติที่แท้จริงในพื้นที่

สอบถามรายละเอียดและร่วมโครงการ ได้ที่
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์ 055-457359

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ทีโอที เปิดตัว โครงการ ทีโอทีรักคุณ ยิ้มสดใส เต็มใจให้บริการ และ โครงการ Phitsanuloke Wi-Fi City

พิธีมอบใบประกาศนียบัตร พนักงานศูนย์บริการยอดเยี่ยมประจำปี 2553

พิธีเปิดศูนย์บริการ Phitsanulok Wi-Fi City ณ ศูนย์บริการ ทีโอที สาขาริมน้ำ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

เมื่อวันที่ วันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2553 เวลา 9.00 น. นายรังสรรค์ จันทร์นฤกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ภาคขายและบริการภูมิภาคที่ 3 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์บริการลูกค้าสาขาริมน้ำ โครงการ ‘ทีโอทีรักคุณ ยิ้มสดใส เต็มใจให้บริการ”

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน ) ได้เปิดศูนย์บริการลูกค้าสขาริมน้ำ โครงการ‘ทีโอทีรักคุณ ยิ้มสดใส เต็มใจให้บริการ” ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการลูกค้าให้ได้รับความสะดวกสบาย ด้วยบริการที่รวดเร็ว แบบ One Sto Service โดยนำโปรแกรม NSI Plus 2.10 ( New Service Innovation Plus) มาให้บริการลูกค้า เพื่อเป็นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดในการบริการแก่ลูกค้า โดยมี คุณสิรินดา ทองมา ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการศูนย์ บริการลูกค้าสาขาริมน้ำ และพนักงาน คอยให้การต้อนรับลูกค้สด้วยความยินดีและเต็มใจ นอกจากนี้ ลูกค้าสามารถเลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ของ บมจ.ทีโอที ได้ในราคาพิเศษสุดๆ รวมถึง บัตรอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง Wi-Fi ในราคา 30 บาท , 60 บาท , 100 บาท , และ 50 บาท

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ภาคขายและบริการภูมิภาคที่ 3 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ เทศบาลนครพิษณุโลก โดย ดร.เปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรี เทศบาลนครพิษณุโลก เปิดให้บริการระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง Wi-Fi และได้รับเกียรติจาก ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้เกียรติร่วมเปิดงานโครงการ "Phitsanuloke Wi-Fi City"

บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน ใช้ดำเนินการเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (Wi-Fi) ชื่อโครงการ "Phitsanuloke Wi-Fi City"เพื่อเปิดบริการแก่ชาวพิษณุโลกรวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในการติดต่อสื่อสารบนโลกอินเตอร์เน็ต โดยมีพื้นที่ให้บริการ ดังนี้ บริเวณห้องสมุดเทศบาลนครพิษณุโลก บริเวณสวนชมน่าน ทั้ง 2 ฝั่ง บริเวณตลาดไนท์บาร์ซ่า และนเขตพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งดำเนินการติดตั้งภายในปี 2553 โดยลูกค้าสมารถซื้อบัตรอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ( Wi-Fi) ได้ตามสถานที่ดังนี้
1. ห้องสมุดเทศบาลนครพิษณุโลก ถ.ขุนพิเรนทรเทพ จ.พิษณุโลก
2. อาคารเทศบาลนครพิษณุโลก ถ.บรมไตรโลกนาถ 2 อ.เมือง จ.พิษณุโลก
3. ศูนย์บริการลูกค้าสาขาริมน้ำ ถ. พุทธบูชา อ.เมือง จ.พิษณุโลก
4. ศูน์บริการลูกค้าสาขาพิษณุโลก (ห้าแยกโคกมะตูม) ถ.พิชัยสงคราม อ.เมือง จ.พิษณุโลก

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทชั้นนำด้านสื่อสารโทรคมนาคม มีความพร้อมในการขยายการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (TOT Wi-Fi) เพื่อรองรับความต้องการด้านการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นประตูสู่แยกอินโดจีน ในการพัฒนาศักภาพด้านการสื่อสารข้อมูล และส่งผลกระทบที่ดีต่อเศรษฐกิจ ของประเทศต่อไป

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

เตรียมพบกับโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน จังหวัดตาก 14 พฤษภาคม 2553


โครงการแผ่นทองของแผ่นดิน
โครงการแผ่นทองของแผ่นดิน โดยเครือข่ายวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น. เรดิโอ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค เริ่มขึ้นปี 2551 มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในทุกๆ ด้าน อันก่อให้เกิดประโยชน์ ในการดำรงชีวิต และสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตร การพัฒนาชุมชน การพัฒนาบุคลากร หรือแม้แต่ทางด้านสุขภาพ และสาธารณสุขของชุมชน อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดโครงการแผ่นทองของแผ่นดินในครั้งนี้ ที่มุ่งเน้นในเรื่อง ภัยจากไข้หวัดนก ภัยจากโรคมาลาเรีย และเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โรคไข้หวัดนก
จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม วิถีชีวิตจึงไม่สามารถหลีกพ้นจากการใกล้ชิดกับสัตว์ปีกไปได้ ความเคยชินมาช้านานทำให้ขาดความระมัดระวัง และรู้ไม่เท่าทันถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นแหล่งที่นกอพยพหนีหนาวจากส่วนต่างๆของโลกไม่ว่าจะเป็น ไซบีเรีย รัฐเซีย จีน ฯลฯ บินผ่าน จึงมีอัตราเสี่ยงจากเชื้อโรคที่มากับนกอพยพเหล่านี้สูง ในทุกภูมิภาคของไทยจึงพบการแพร่ระบาดได้ โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง อีกทั้งทั่วโลกก็ยังพบการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง และจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายข้ามประเทศ ข้ามทวีป ได้ในระยะเวลาอันสั้น
เมื่อมนุษย์มีการพัฒนา เชื้อโรคต่างๆ ก็พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการกระจายของเชื้อได้อย่างชนิดที่ตามแทบไม่ทันเช่นกัน นี่คือความน่ากลัว ที่เราชาวไทยควรตระหนักและรับรู้ร่วมกัน เพื่อเตรียมการป้องกัน-แก้ไข ก่อนจะสายเกินไป


โรคมาลาเรีย
มาลาเรียเป็นโรคที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์มาช้านาน มักพบในทวีปแอฟริกาและเอเชีย อันเป็นประเทศยากจนที่อยู่ในเขตร้อน ซึ่งกว่าจะรู้เท่าทันมีวิธีป้องกันรักษาก็ต้องสูญเสียชีวิตผู้คนจากทั่วโลกไปมากมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เคยตั้งความหวังว่าจะกำจัดมาลาเรียให้หมดไปได้ แต่กระทั่งปัจจุบันชาวโลกก็ยังไม่ปลอดภัย ทั้งนี้เพราะความจนและพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล การมีบ้านพักที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การมีระบบสาธารณสุขที่ไร้ประสิทธิภาพ ทั้งหลายทั้งปวงนี้คือเหตุผลที่ทำให้มาลาเรียระบาดอย่างไม่รู้จบ นักวิชาการ ผู้ชำนาญการต่างๆ ยังคงคิดค้นหาวิธีต่อสู้เพื่อเอาชนะมาลาเรียให้ได้อย่างเด็ดขาด
องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า ทุกปีจะมีพลโลก 400 ล้านคนล้มป่วยเป็นไข้มีอาการหนาวสั่นด้วยมาลาเรีย และ 2 ล้านคน จะเสียชีวิตด้วยโรคนี้นั่นคือในทุก 30 วินาที จะมีคนตายด้วยโรคมาลาเรีย 1 คน อีกทั้งองค์การสหประชาชาติ ยังมีรายงานว่าเหยื่อของโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบโดยเฉพาะในกรณี ครอบครัวที่ยากจนโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเป็นไปได้สูง ทารกที่ป่วยเป็นมาลาเรียหากไม่ตาย การพัฒนาการด้านสมองจะไม่สมบูรณ์สตรีมีครรภ์หากได้รับเชื้อมาลาเรีย ลูกที่คลอดจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐาน รวมถึงรู้จักวิธีการป้องกันและเฝ้าระวังภัยให้ปลอดจากโรค
3. เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข
4. เพื่อให้ประชาชนในชนบท สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและยั่งยืนในถิ่นเกิดบนพื้นฐานของความ
พออยู่พอกิน
5. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำเกษตรกร เป็นตัวหลักในการเผยแพร่ความรู้

ผู้ร่วมโครงการ
1. องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID)
2. สถาบันคีนันแห่งเอเชีย
3. โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค
4. มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด
5. บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น. เรดิโอ จำกัด (ผู้บริหารเครือข่ายวิทยุร่วมด้วยช่วยกันฯ)
6. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
7. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกได้รับการเผยแพร่ไปสู่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชนซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่โดยตรง รวมถึงสื่ออื่นๆ อันประกอบด้วยระบบมือถือ ระบบอินเตอร์เน็ต และวิทยุ ทำให้การเผยแพร่กระจายสู่ประชาชนเป็นไปในวงกว้าง ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก และโรคมาลาเรียลดลงในอนาคต