วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

น้ำยางขับไล่และกำจัดแมลงศัตรูพืช

น้ำยางในหัวปลีกล้วย มีจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสรรพคุณในการขับไล่และกำจัดศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย เนื่องจากมีส่วนผสมของสารแทนนิน ซึ่งเป็นสารสีน้ำตาลมีความฝาดและมีกลิ่นฉุน ทำให้แมลงศัตรูพืชไม่อยากเข้าใกล้ และทำให้เพลี้ยตายได้ แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค เนื่องจากเป็นสารธรรมชาติ จึงไม่มีพิษตกค้าง

แต่วิธีการที่จะนำยางหัวปลีกล้วยไปใช้ ต้องผ่านกระบวนการหมักกับน้ำตาลทรายแดง อย่างน้อย 7 วัน ก่อน เพื่อให้จุลินทรีย์มีประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น จึงจะนำไปใช้ได้กับพืชผักทุกชนิด โดยให้ผสมน้ำฉีดพ่นทุก 7 วัน จะช่วยแก้ปัญหาศัตรูพืชระบาดได้ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ศึกษาแล้วว่าวิธีนี้มีความปลอดภัยสูง และช่วยลดต้นทุนการผลิต จึงเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ทดแทนสารเคมี

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการเกษตรน่ารู้ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 สี

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 84 พรรษา มหาราชา

ร่วมเฉลิมฉลองใน 3 โอกาสมหามงคล จัดยิ่งใหญ่ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่ 17 ธ.ค. - 28 ก.พ.ร้อยเรียงประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่เริ่มก่อร่างสร้างเมือง และเรื่องราวเกี่ยวกับ ในหลวง กับความรักความผูกพันที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย จอย-รินลณี นำแสดง นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง พร้อมด้วย นายรัตนาวุธ วัชโรทัย ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สำนักพระราชวัง นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) และ ผศ.ปนัดดา ธนสถิตย์ กรรมการอำนวยการ บริษัท กันตนา ออร์กาไนเซอร์ แอนด์ เมเนจเมนท์ จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวการจัดการแสดง แสง เสียง และสื่อผสม “วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 84 พรรษา มหาราชา” ที่บริเวณสนามหญ้าด้านหน้าศาลา สหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 - 28 กุมภาพันธ์ 2554 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่ปี พ.ศ. 2554 จะเป็นปีมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติเช่นเดียวกับพระบุรพกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์


นายรัตนาวุธ วัชโรทัย ให้รายละเอียดว่า “การแสดงครั้งนี้สืบเนื่องจากการที่สำนักพระราชวังได้จัดการแสดงเฉลิมพระเกียรติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปลายปี พ.ศ.2541 ในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ต่อมาในปี 2552 ได้จัดการแสดงสัญจรใน 8 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ เพราะ “คนไทยรักในหลวง”

วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 84 พรรษา มหาราชา บริหารโครงการ โดย บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท กันตนา ออร์กาไนเซอร์ แอนด์ เมเนจเมนท์ จำกัด บริหารการ ผลิตโดย บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) เริ่มแสดงตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2553 ถึงวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 19.00-20.30 น.โดยงดการแสดงทุกวันจันทร์ ยกเว้นวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 และงดการแสดงในวันที่ 27 ธันวาคม 2553 - 3 มกราคม 2554 รวมจัดการแสดงทั้งสิ้น 58 รอบ บัตรราคา 500 บาท ทุกที่นั่ง เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม ศกนี้ ที่ห้องประชาสัมพันธ์ ทางเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โทร.0 2623 5500, 0 2623 5499 ต่อ 1120-1123, 1126 และ 4567-4568 ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รับสมัครงานเจ้าหน้าที่ข้อมูลการเกษตร *1677


คุณสมบัติ
1. เพศชาย / เพศหญิง
2. จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพืชศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. อายุตั้งแต่ 22 ขึ้นไป
4. กรณีเพศชายผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว
5. มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
6. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
7. หากมีความสามารถในการดำเนินรายการสถานีวิทยุมาก่อนพิจารณาเป็นพิเศษ

สมัคร/สัมภาษณ์ ได้ที่
สำนักงานร่วมด้วยช่วยกัน จังหวัดพิษณุโลก
สถานีวิทยุร่วมด้วช่วยกัน FM 92.50 MHz.
เลขที่ 57/12 ถนนพระองค์ดำ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
โทร.055-212445-6 , 087-5229512 ดีแทคโทรฟรี 1677 , http://www.rakbankerd.com
โทรสาร. 055-212446

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ ตักบาตรพระ 1,500 รูป

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2553 พิษณุโลก จัดงานมหากุศลครั้งยิ่งตักบาตรพระ 1,500 รูป น้อมถวายเป็นพุทธบูชา ช่วยคณะสงฆ์ 266 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ศูนย์กัลยาณมิตรพิษณุโลก ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก ธุดงคสถานพิษณุโลก ร่วมตักบาตรพระ 1,500 รูป ณ บริเวณถนนสนามบิน ด้วยการสนับสนุนโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลก กองทัพภาคที่ 3 กองกำกับการตำรวจภูธรพิษณุโลก นิสิตนักศึกษา นักเรียน พ่อค้าประชาชน โดยมีประธานสงฆ์ คือ พระราชธรรมคณี เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก วัดศรีรัตนาราม อ.เมือง จ.พิษณุโลก โดยมีเจ้าคณะอำเภอเจ้าคณะตำบล พระเถรานุเถระจากทุกอำเภอมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ประธานฝ่ายฆาราวาส นายยงยศ เมฆอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งในงานมีพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานจำนวนกว่า 20,000 คน งานเป็นไปอย่างเรียบร้อยงดงาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดพิษณุโลกทุกปี

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

CSR Dtac เดินหน้าคืนกำไรสู่สังคมกับผลงานและกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

คลังข้อมูลทางการเกษตรเพื่อเกษตรกรไทย

ความภูมิใจของดีแทคกับรางวัล Thailand ICT Excellence Awards 2008 สาขา Service Sector
*1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตร เป็นบริการเสริมพิเศษที่ดีแทคได้สร้างสรรค์ขึ้นบนแนวคิดด้าน CSR ผสานแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่เชื่อมโยงองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 องค์กรได้แก่ ดีแทค มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงเกษตรกรให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการทั่วไทย *1677 ให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรผ่านทาง SMS แก่เกษตรกรทุกวัน โดยมีข้อมูล 3 หมวดหมู่หลักๆ ได้แก่ - “ทุ่งรวงทอง” ข้อมูลสำหรับชาวนาและผู้ที่สนใจการปลูกข้าว- “สวนเงินไร่ทอง” ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืช ผัก ผลไม้ สำหรับชาวไร่ ชาวสวน - “ข้อมูลปศุสัตว์เศรษฐี” ข้อมูลสำหรับผู้สนใจเรื่องการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจและการทำประมง ทั้งนี้ ลูกค้าดีแทคแบบรายเดือนและแบบเติมเงินสามารถสมัครและใช้บริการรับข้อมูลฟรี นอกจากนี้ยังสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางโทรศัพท์ได้ที่โทร *1677 ผ่านสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันในทุกภูมิภาคได้อีกด้วย

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

MV เฉลิมพระเกียรติ บทเพลง : King of Kings

พวกเราเป็นหนี้แผ่นดิน เราต้องรับใช้แผ่นดิน

รอยยิ้มของพ่อ พลังใจของพวกเรา

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โครงการทำดีทุกวัน มอบจักรยานให้น้อง ณ โรงเรียนวัดย่านขาด อ.พรหมพิราม ตามโครงการปั่นจักรยานเพื่อน้อง : พิษณุโลก


โรงเรียนวัดย่านหนึ่งในโรงเรียนที่ได้รับมอบจักรยานในโครงการ ปั่นจักรยานเพื่อน้อง ซึ่งได้รับการประสานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ที่นักเรียนได้เขียนเรียงความเรื่อง "เพราะเหตุใดข้าพเจ้าสมควรได้รับจักรยาน" เพื่อรับมอบจักรยาน จำนวน 20 คัน จาก โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค โดยรายการร่วมด้วยชวยกันร่วมส่งมอบจักรยาน เมื่อวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2553

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ฟาร์มเส้นทางเห็ด จ.พิษณุโลก : รุ่งทิวา อันตรเสน

ฟาร์มเส้นทางเห็ด
วิสัยทัศน์ เป็นหนึ่งในด้านการผลิตและจำหน่ายเห็ดในภาคเหนือตอนล่าง
พันธกิจ
1. ดำเนินการผลิตเห็ดแบบครบวงจรและมีคุณภาพ
2. ผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดผู้บริโภค

3.วิจัยและพัฒนาเห็ดเผยแพร่ให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจได้ศึกษาและนำไปประกอบเป็นอาชีพ

ความสมามารถในการผลิตเห็ดของฟาร์ม ปัจจุบันสามารถผลิตหัวเชื้อเห็ด ก้อนเชื้อเห็ด ได้ 15 สายพันธ์ คือ
เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดนางรมฮังการี เห็ดนางรมขาว เห็ดนางนวล เห็ดนางรมสีทอง เห็ดหูหนูสีขาว เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดตับเต่าขาว เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดหลินจือ เห็ดฟาง เห็ดแครง

การมีส่วนร่วมในการพัฒนา
1. ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก สนับสนุนและผลักดันให้มีการส่งเสริมการเพาะเลี้ยง เพื่อให้การเพาะเลี้ยงเห็ดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมอาชีพการเกษตรจังหวัดพิษณุโลก จัดอบรมเกษตรกรผู้ร่วมโครงการแก้ไขความยากจน
3. ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดอุตรดิตถ์
4. อบรมเกษตรกนผู้สนใจด้านการเพาะเลี้ยงเห็ด โดยที่ทุกรุ่นสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี 5. สนับสนุนการเพาะเลี้ยงเห็ดตีนแรดร่วมกับการปลูกผักในแปลงผักปลอดสารพิษ เพื่อเป็นการเลือกให้เกษตรกรมีรายได้ถึงสองอย่างในแปลงผัก

ฟาร์มเส้นทางเห็ด ที่อยู่ 193 หมู่ 11 พิษณุโลก-บางระกำ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ให้ความรู้เแนวทางการสร้างอาชีพจากเห็ด การแปรรูปอาหารจากเห็ด การผลิตเห็ดเพื่อการค้า การเตรียมก้อนเชื้อเห็ด
สอบถามและลงทะเบียนอบรมฟรี ติดต่อ

คุณรุ่งทิวา อันตรเสน เจ้าของฟาร์มเส้นทางเห็ด

โทรศัพท์ 055-333204 มือถือ 081-9715155

อีเมล์ : antypot@thaimail.com

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พี่ใหญ่ บุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิด : ตอนที่ 2 20/07/53

ตอนที่ 2 2/1

ตอนที่ 2 2/2

ตอนที่ 2 2/3

ตอนที่ 2 2/4

พี่ใหญ่ บุญชัย เบญจรงคกุล คนของแผ่นดิน ผู้ปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิด ตอนที่ 2 รายการฅนค้นคน ออกอากาศวันที่ 20 กรกฎาคม 2553

ขอบคุญแหล่งข้อมูล : http://www.youtube/ , รายการฅนค้นคน ทีวีบูรพา ช่อง 9 อสมท.

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พี่ใหญ่ บุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิด : ฅนค้นคน ตอนที่ 1 13/07/2553

ตอนที่ 1 1/1

ตอนที่ 2 1/2

ตอนที่ 3 1/3

ตอนที่ 4 1/4

ต้องถือว่าเป็น "ครั้งแรก" ที่รายการคนค้นฅน หยิบเรื่องราวของอภิมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ คนหนึ่งของเมืองไทยมานำเสนอ แทนที่จะเป็นการพาไปค้นแง่มุมชีวิตของคนยากจนที่เราเห็นกันจนคุ้นตา แต่ทว่าเรื่องราวของมหาเศรษฐีคนนี้ แน่นอนว่า ย่อมไม่ใช่คนธรรมดา ๆ เหมือนมหาเศรษฐีทั่วไป แต่กลับให้มุมมองใหม่ ๆ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแง่คิด โดยเฉพาะเรื่องราวที่เขาพยายามปลูกฝังให้เยาวชน "สำนึกรักบ้านเกิด"อันเป็นแผ่นดินแม่ของตัวเอง มหาเศรษฐีคนที่เราพูดถึงข้างต้น ก็คือ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล ซึ่งทุกคนรู้จักเขาดีในฐานะอดีตผู้บริหารเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ รายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันคุณบุญชัย เบญจรงคกุล ก็ยังประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสารอยู่ แต่ในแง่มุมส่วนตัว เขาเป็นผู้ที่มีใจรักศิลปะอย่างมาก และเป็นนักสะสมงานศิลปะนับพัน ๆ ชิ้น จนนำไปสู่การสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย นอกจากนี้คุณบุญชัย ยังได้สะสมข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวราคาแพง อย่างเช่นรถสปอร์ตเฟอร์รารี่ นาฬิกาเรือนหรู เสื้อผ้ายี่ห้อดัง เครื่องบินส่วนตัว มูลค่ารวม ๆ กันแทบนับตัวเลขไม่หวาดไม่ไหว แน่นอนว่าชีวิตที่สวยหรู ทั้งการงาน การเงิน ย่อมทำให้ใครต่อใครพากันอิจฉา

แต่ทว่ากว่าที่คุณบุญชัย เบญจรงคกุล จะผ่านมาถึงเส้นชัยอย่าง ณ วันนี้ ระหว่างทางที่เขาก้าวเดินมาแต่ละก้าวย่อมไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เชื่อหรือไม่ว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล เคยเป็นหนี้ก้อนโตถึง 4-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล และลูกค้าก็เริ่มทยอยหายหน้าไปเดือนละเป็นแสน ๆ คน แต่เขาก็สามารถใช้จิตใจที่เข้มแข็ง ประกอบกับการจินตนาการปัญหาให้เป็น ศิลปะ และใช้ธรรมะยึดเหนี่ยวจิตใจ จนผ่านพ้นจุดนั้นมาได้สำเร็จ ด้วยความที่เป็นคนเลื่อมใสพระพุทธศาสนา คุณบุญชัยได้สวดมนต์ ทำบุญตักบาตรทุกวัน ไปวัดทุกวันอาทิตย์ รวมทั้งนำพาพนักงานนับร้อยนับพันนั่งสมาธิทุกสัปดาห์ อีกทั้งยังจัดรายการวิทยุเผยแพร่เนื้อหาแฝงธรรมะ ตลอดจนเรื่องราวของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาประยุกต์ใช้ได้กับชีวิต จากที่ได้ซึมซับแนวพระราชดำริมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเผยแพร่ให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย

โดยแนวคิดของคุณบุญชัย มาจากการที่เขาได้เดินทางไปต่างประเทศบ่อย ๆ ทำให้ได้รู้ว่าไม่มีที่ไหนน่าอยู่เท่ากับประเทศไทยของเราเอง จึงได้ลงมาทำเรื่องของ "สำนึกรักบ้านเกิด" , "ร่วมด้วยช่วยกัน" และนำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เป็นรูปธรรม เพื่อเผยแพร่ไปยังคนต่าง ๆ ซึ่งคุณบุญชัยบอกว่า การที่เขาได้ดีมากว่า 50 ปี เป็นเพราะความกตัญญูที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงต้องการตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการสานต่อเรื่องที่พระองค์ท่าน ปรารถนาจะทำให้สำเร็จ นั่นก็คือ การที่ผู้คนได้อยู่ดีกินดีบนผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ ตามแนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" นั่นเอง นั่นจึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง "มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด" ขึ้น เพื่อหวังปลูกจิตสำนึกให้กับกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ไม่ให้หลงลืมรากเหง้าแห่งท้องไร่ท้องนา และกว่า 13 ปีของ "มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด" ที่มีครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด ได้ผลักดันให้คุณบุญชัย กลายมาเป็น "พี่ใหญ่" ของลูกน้องนับพันชีวิตที่หวังจะสานต่อโครงการ เพื่อให้คนไม่ลืมวัฒนธรรม อันเป็นรากเหง้าที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าของผืนแผ่นดินแห่งนี้
ติดตามชมเรื่องราวแง่มุมต่าง ๆ ที่เต็มไปด้วยแง่คิดในการดำเนินชีวิต ของผู้ชายที่ชื่อบุญชัย เบญจรงคกุล บนเส้นทางของอริยะชน ตอนที่ 2 ต่อได้ในรายการคนค้นฅน วันอังคารที่ 20 กรกฎาคมนี้ เวลา 22.15 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก จาก ud.co.th , ทีวีบูรพา และกระปุกดอทคอม

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงการ " บอลโลก สดใส เยาวชนไทย ไร้การพนัน " : ทีโอที พิษณุโลก เปิดสายด่วนรับแจ้งเบาะแสการพนันบอล 1212 ตามนโยบายกระทรวง ICT

ทีโอทีร่วมกับจังหวัดพิษณุโลก ระดมเยาวชนในจังหวัดพิษณุโลก รณรงค์ต่อต้านการพนัน ในช่วงเทศกาลบอลโลก 2010 โดยจัดโครงการ " บอลโลก สดใส เยาวชนไทย ไร้การพนัน" ณ โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา เยาวชนร่วมใจตั้งทีม TOT CYBER SCOUT แจ้งเบาะแสเว็บไซด์พนันบอล สายด่วน 1212 ตลอด 24 ชั่วโมง

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 นายเอนก ธาราศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาที่ 3 บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ร่วมจัดโครงการ "บอลโลก สดใส เยาวชนไทย ไร้การพนัน" ขึ้น โดยมีเยาวชนจากโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม โรงเรียนจ่านกร้อง โรงเรียนพดุงราษฎร์ โรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม และโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก รวม 7 แห่ง เข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ซึ่งเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมใจกันสมัครเป็นสารวัตร IT ในนามทีม TOT CYBER SCOUT เพื่อช่วยสอดส่องดูแลและแจ้งเบาะแสเว็บไซด์พนันบอล และร่วมมือร่วมใจเป็นเครือข่าย แนะนำเว็บไซด์ที่ถูกต้องให้กับเพื่อเยาวชน

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล ผู้ช่วยกรรมการใหญ่ ภาคขายและบริการภูมิภาคที่ 3 กล่าวว่า ตามนโยบายกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ในการควบคุมเว็บไซด์พนันบอลโดยปราบปรามเว็ปพนันบอล และป้องกันการใช้โทรศัพท์พนันบอล ในช่วงเทศกาลบอลโลก 2010 โดยตั้งทีมมอนิเตอร์ และเปิดสายด่วน 1212 รับเบาะแสการพนันบอลตลอด 24 ชั่วโมง ทีโอที จึงร่วมมือกับจังหวัดพิษณุโลกจัดโครงการ "บอลโลก สดใส เยาวชนไทย ไร้พนัน" ขึ้น เพื่อปลูกฝั่งให่เยาวชนมีความสนใจในกีฬาฟุตบอล ได้รับรู้และเข้าใจถึงปัญหาการพนันบอล รวมทั้งสรางความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เยาวชนและพัฒนาแนวคิดของการสร้าง Social Network โดนสามารถพัฒนาและเผยแพร่แนวคิด อันจะนำมาสู่การสรางเครือข่ายเยาวชนที่เข้มแข็งต่อไป

นายรังสรรค์ฯ ยังกล่าวอีกว่า "ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทีโอที ได้มีส่วนทางด้านพัฒนาและรับผิดชอบต่อสังคม Corporate Social Responsibility (CSR) รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้าน การศึกษาโดยตลอด อาทิ โครงการ IT TO School , โครงการ TOT Young Club และปีนี้ ทีโอที มุ่งเน้นการดำเนินการด้าน CSR ในการรับผิดชอบต่อสังคมเกี่ยวกับเยาวชนในสถานศึกษา การจัดกิจกรรมดังกล่าว จึงเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนได้ตระหนัก และมีส่วนในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนสืบไป"

เว็บไซด์ทีโอที : http://www.tot.co.th/index.php

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูปทั่วไทย

คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับคณะสงฆ์ทั่วปรเทศ วัพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย และชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้มีมโนปณิธานสานสัมพันธ์ จัดโครงการ อุปสมบทหมู่ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ทำให้มีชายไทยได้มาอุปสมบท อบรมศีลธรรม เกิดศาสนทายาทขึ้นมากมาย จึงได้จัด โครงการ อุปสมบทหมู่ 100,000 รูป เข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ขึ้นเพื่อให้กระแสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่ปกคลุมทั่วผืนแผ่นดินไทย ให้ดับร้อน ฝ่าวิกฤติภัย ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง โดยรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ call center 0-2831-1234 หรือ www.dmycenter.com

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สวนลองกอง : นางประทุม วาทมธุรส

คุณประทุม วาทมธุรส เจ้าของสวนลองกอง 5 ไร่ ปลูกแบบผสมผสาน อยู่ที่ 187 หมู่ที่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โทร. 081-888-3318

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงการผ่าตัด เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ครั้งที่ 3 ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก


โครงการผ่าตัด เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ครั้งที่ 3 โดยความร่วมมือระหว่างโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค เยาวชนจากประเทศนอร์เวย์ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม (Operation Smile) และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก วันที่ 6 สิงหาคม 2553

ดีแทค มูลนิธิ Operation Smile ร่วมด้วยช่วยกัน แฮปปี้ สเตชั่นและเยาวชนจากประเทศนอร์เวย์ร่วมกันจัดทำโครงการ “ทำดีด้วยใจ เพื่อความสุขและรอยยิ้มของเด็กไทย ครั้งที่ 3” เพื่อสนับสนุนการผ่าตัดฟรีแก่เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ความพิการบนใบหน้า นิ้วติดกัน หรือนิ้วเกิน จำนวน 100 คน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติโดยจัดให้ลูกค้าดีแทคสามารถมีส่วน ร่วมกับโครงการได้ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงพิมพ์ 1 ส่งมาที่หมายเลข 1677 1 SMS ดีแทคบริจาค 1 บาท เพื่อเป็นทุนในการผ่าตัดจนกว่าจะครบ 1,500,000 บาท สำหรับผ่าตัดเด็กจำนวน 100 คน โดยผู้ส่ง SMS จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เริ่มตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2553 เพื่อเป็นการสร้างกระแสความดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
(พิเศษ สำหรับลูกค้าดีแทค ระบบเติมเงิน อาจเป็นผู้โชคดีรับค่าโทรฟรี 150 บาท วันละ 10 รางวัล)
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
รายการร่วมด้วยช่วยกัน จ.พิษณุโลก โทร.055-212445-6
E-mail : inn_radio@hotmail.com

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สำนึกรักบ้านเกิด : ผู้นำชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด

พวกเราคือผู้นำชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด ผลึกกำลังเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ จากปราชญ์ชาวบ้าน จากทุกชุมชนทั่วประเทศ ส่งต่อทุกความรู้ที่ได้มาคืนสู่สังคม ผ่านเครือข่าย *1677 (Dtac) อุดมการณ์เพื่อปลี่ยนแปลงประเทศไทย ตามรอยพ่อ อยู่อย่างพอเพียง

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คลิปวีดีโอรณรงค์งดเผาตอซังฟางข้าว : กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมควบคุมมลพิษ

ผลเสียจากการเผาตอซังข้าว
เกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวโดยทำการเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการไถเตรียมดิน หรือเพื่อต้องการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชนั้นจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซังข้าว กล่าวคือ

1.ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป อนุภาคของดินจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำให้รากพืชแคระแกร็น
2.สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินคาร์บอนและอินทรียวัตถุในดินเมื่อถูกเผาจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไปในบรรยากาศ ส่วนธาตุอาหารจะแปรสภาพให้อยู่ในรูปที่สามารถสูญเสียไปจากดินได้ง่าย
3. ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินลดลง เช่น กิจกรรมการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศให้อยู่ในรูปของสารประกอบไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ การแปรสภาพอนินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ และการย่อยสลายอินทรียสารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน นอกจากนั้นตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังพืชรวมทั้งจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกเผาทำลายไป ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น
4. สูญเสียน้ำในดิน การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส น้ำในดินจะระเหยสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว ให้ความชื้นของดินลดลง

แหล่งข้อมูลโดย : กลุ่มระบบงานวิจัย กองแผนงาน กองแผนงาน ร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรียวัตถุเพื่อการเกษตรสำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน

โครงการ ทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลพันเสา : พิษณุโลก


รายการร่วมด้วยช่วยกัน บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด โดรงการ ทำดีทุวัน จาก ดีแทค ร่วมกัน เทศบาลตำบลพันเสา อำเภอบางนะกำ จังหวัดพิษณุโลก จัดโครงการ สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลพันเสา

ความเป็นมา หลักการและเหตุผล

ประชากรตำบลพันเสาประกอบอาชีพเกษตรกรรม 85% พื้นที่มีคลอง หนอง และบึงจำนวนมาก เหมาะแก่การปรับปรุง กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง แหล่งเพาะพันธุ์ปลา และพัฒนาเกษตรก้าวหน้า ซึ่งข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ตำบล พันเสา ตามแผนที่ระบบ GIS ของกรมที่ดิน ได้แสดงภูมิประเทศ แหล่งน้ำทรัพยากรป่าไม้ เส้นทางคมนาคม และความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์จังหวัดพิษณุโลก คือ เกษตรกร และองค์กรเกษตรกรมีการจัดการผลิตการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ตามความต้องการของตลาด และเป็นเมืองที่ชุมชนมีความเข้มแข็งยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม และเป็นศูนย์กลางบริการด้านการส่งสินค้า

ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย
กลยุทธ์สนับสนุนและส่งเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยในภาคเกษตร สนับสนุนโครงการสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตร พัฒนาให้ความรู้และเทคนิควิธีการในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประชากรตำบลพันเสาประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ยังไม่มีศูนย์เรียนรู้ประจำตำบล โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด สถานีวิทยุ DFM ๙๒.๕๐ MHz ร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดพิษณุโลก คลื่นความดี และเทศบาลตำบลพันเสา เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการ ทำดีทุกวัน ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างศูนย์เรียนรู้ตำบลพันเสา ขึ้น

เพื่อให้เกษตรกรได้มีแหล่งรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพร่วมกันต่อไปวัตถุประสงค์
๑.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกรตำบลพันเสา และเป็นที่ศึกษาดูงานต่อไปในอนาคต
๒.เพื่อนำแนวทางการพัฒนาใช้กับเกษตรกร
๓.เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องของการผลิต และจำหน่ายสินค้าเกษตร
๔.เพื่อตอกย้ำอุดมการณ์สำนึกรักบ้านเกิดและแสดงถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนคุณแผ่นดินโดยนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
๕.เพื่อให้เกษตรกรที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตร ได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปัญหาโดยมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิด
๖.เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประชาสัมพันธ์ *1677
๗.เพื่อให้องค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป ได้รู้จักร่วมด้วยช่วยกันมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย
เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๑๕๐ คน

เป้าหมายการดำเนินงาน
๑.เป็นแหล่งอาหารปลอดสารพิษให้กับประชาชนตำบลพันเสาและประชาชนตำบลใกล้เคียงรวมถึงประชาชนจังหวัดพิษณุโลก
๒.เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดสารพิษให้กับโรงพยาบาลและส่วนราชการ และประชาชนทั่วไป
๓.เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าเกษตรของตำบลพันเสาและในอนาคตเป็นแหล่งซื้อขายของจังหวัด
๔.ประชาชนตำบลพันเสามีอยู่มีกินและพึ่งพาตนเองได้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
๕.ประชาชนทำการเกษตรแล้วไม่ต้องกลัวหาตลาดไม่ได้เนื่องจากศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะหาตลาดให้
๖.กลุ่มหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ได้มีสถานที่ในการศึกษาที่เพียงพอ
๗.ให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ให้ได้ความรู้กลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างอาชีพและเสริมรายได้
๘.ให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นสถานที่แปลงเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ม.๓ ต.พันเสา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องเกษตรกรรมอย่างถูกต้อง สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในด้านการเกษตรของตนเอง เพื่อเกษตรกรจะได้กินดีอยู่ดี และมีชีวิตที่ดีขึ้น เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องของการบริหาร การจัดการ และการฟื้นฟูอาชีพที่มั่นคงมากขึ้น
๒.เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกแก่เกษตรกรให้มีการสำนึกรักบ้านเกิดและแสดงถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนคุณแผ่นดิน
๓.เพื่อให้เกษตรกรนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ในด้านเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์
๔.มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้ผลตอบรับเป็นดี
๕.เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677 ทั้ง ๓ หมวดประกอบด้วย หมวดทุ่งรวงทอง หมวดสวนเงินไร่ทอง หมวดปศุสัตว์เศรษฐี ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้ามาเรียนรู้ในศูนย์ ได้รู้จักทางด่วนข้อมูลการเกษตรมากขึ้นและนำไปใช้ได้จริงในพื้นที่กำหนดการ

กำหนดการ โครงการ ทำดีทุกวัน ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างศูนย์เรียนรู้ตำบลพันเสา
วันอังคารที่ 8 มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา 08.00-12.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ตำบลพันเสา หมู่ ๓ ต.พันเสา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

สอบถามเข้าร่วมโครงการได้ที่
รายการร่วมด้วยช่วยกัน จ.พิษณุโลก FM 92.50 MHz.
57/12 ถนนพระองค์ดำ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
โทร.055-212445-6 และ 1677 (ดีแทคโทรฟรี)

เทคนิคการปลูกแตงแคนตาลูป : นายเมธี ลาสูง

นายเมธี ลาสูง เกษตรกรผู้ปลูกแตงแคนตาลูปปลอดสารพิษ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนม่วง อยู่ที่ 349/3 หมู่ที่ 10 บ้านดอนม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ขอคำปรึกษาและเยี่ยมชมแปลงปลูก โทร.086-5913021

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ดีแทคนำทีมร่วมโครงการพลิกฟื้นพื้นป่า ด้วยพระบารมี : นครสวรรค์

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2553 บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูลนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค นำโดย คุณศุภิสรา ดวงแก้ว ผู้ช่วยผู้จัดการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด พร้อมทีมเยาวชนอาสาจังหวัดนครสวรรค์ คุณภาระกิต เจริญกองชู ผู้จัดการรายการร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดพิษณุโลก FM 92.50 MHz. ผู้นำชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด จังหวัดพิษณุโลก ร่วมปลูกป่าในโครงการ " พลิกฟื้นพื้นป่า ด้วยพระบารมี " ณ อุทยานนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยในงานมีผู้เข้าร่วมปลูกป่ากว่า 200 คน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านด่านนาขาม : นายฟื้น โชวันดี

นายฟื้น โชวันดี ประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านด่านนาขาม อยู่บ้านเลขที่ 237 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 โทร.084-3739510

รางวัลเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับจากหน่วยงานต่างๆ

  • ปี พ.ศ 2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็น “ ปราชญ์ชาวบ้าน “ คำสั่ง จังหวัดอุตรดิตถ์ที่ 2374/2546 ตามคำสั่ง นายปรีชา บุตรตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด
  • ปี พ.ศ.2546 รางวัลชมเชย ในการประกวดภูมิปัญญา ท้องถิ่นภาคเหนือประเภทเครื่องมือห่อหุ้ม และเก็บ เกี่ยวผลไม้สำหรับเกษตรกรรายย่อย จากสำนักงานส่งเสริม และการพัฒนาการเกษตรที่6 จังหวัดเชียงใหม่
  • ปี พ.ศ.2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็ผู้ทรงคุณวุติ อนุกรรมการพัฒนาการเกษตร วิทยาการเกษตรอินทรีย์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
  • ปี พ.ศ.2547 รางวัลชนะเลิศ ในการประกวดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องใช้การเกษตร ชื่อผลงาน เครื่องห่อผลไม้ (โครงการวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์)
  • ปี พ.ศ.2547 เกียตรติบัตรรางวัลที่1 จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านภูมิปัญญาเกษตรกรไทย
  • ปี พ.ศ 2549 เป็นผู้แทนเกษตรคณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ปี พ.ศ.2550 เกียตรติบัตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นดีเด่น จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกลุ่ม “ห้าขุนศึก “ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตาก และจังหวัดอุตรดิตถ์

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงการทำดีทุกวัน 1Goal : Education for All


แสดงพลังร่วมกับคนทั่วโลกเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เพียงส่ง SMS พิมพ์ 1 มายังหมายเลข 1677 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าดีแทคทั้งระบบเติมเงินและรายเดือน

นายพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิดจากดีแทค นำทีมเดินหน้ารณรงค์และสื่อสารถึงวัตถุประสงค์โครงการว่า “ดีแทคมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการ “1Goal: Education for All” ไม่ใช่ในฐานะที่ดีแทคเป็นสมาชิกของ GSMA เท่านั้น แต่ในฐานะที่เป็นตัวแทนประเทศไทยที่จะเป็นผู้รวบรวมพลังเสียงของคนไทยที่อยากเห็นเด็กทั่วโลกมีโอกาสเรียนหนังสือส่งไปยัง GSMA พร้อมกับเสียงของคนทั่วโลกเพื่อมอบต่อให้ UNESCO และสหประชาชาติในช่วงที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกหรือ FIFA World CUP 2010 ที่มีคนนับล้านๆ ทั่วโลกเฝ้าติดตามชม เพื่อสร้างแรงเสริมให้กับผู้นำประเทศต่างๆ ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นด้านการศึกษาของเด็กด้อยโอกาสทั่วโลก ซึ่งโครงการดังกล่าวตรงกับเจตนารมณ์ของโครงการทำดีทุกวันจากดีแทคที่ต้องการมีส่วนสนับสนุนให้เด็กทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และที่สำคัญกว่านั้น วันนี้มีเด็กทั่วโลกกว่า 72 ล้านคนที่ยังขาดโอกาสในการศึกษา หากพลังเสียงของคนไทยและเพื่อนร่วมโลกสามารถเป็นจุดเริ่มและเสริมสร้างสิ่งที่คาดหวังเหล่านี้ได้ โลกใบนี้ก็จะมีความสุขที่ยั่งยืนกว่าสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน โครงการทำดีทุกวันจากดีแทคจึงขอเชิญชวนคนไทยทุกคนร่วมกันทำความดีด้วยวิธีง่ายๆ หากท่านประสงค์ที่จะแสดงพลังร่วมกับคนทั่วโลกเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เพียงส่ง SMS พิมพ์ 1 มายังหมายเลข 1677 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าดีแทคทั้งระบบเติมเงินและรายเดือน ในระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 4 มิถุนายนนี้ และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทคจะนำเสียงของคนไทยทั้งหมดส่งมอบให้กับ GSMA เพื่อรวบรวมส่งต่อให้กับ UNESCO และสหประชาชาติเพื่อผลที่เป็นรูปธรรมทางการศึกษาต่อไป”สำหรับการประชาสัมพันธ์โครงการนั้น โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค จะส่งข้อมูลการร่วมโครงการไปยังลูกค้าผ่านทาง MMS และ SMS รวมถึงรณรงค์เผยแพร่ทางสถานีวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกันทั่วประเทศ โดยนายพีระพงษ์กล่าวขอแรงสนับสนุนจากทุกท่านที่มีสิทธิ์มีพลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาที่ดีขึ้นของน้อง ๆ ทั่วโลกได้ เพียงพิมพ์ 1 ส่งมาที่ 1677 เท่านั้น.

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไผ่ขอดอน : นายถวิล น่วมบาง

นายถวิล น่วมบาง ปราชญ์ชาวบ้าน"บ้านไผ่ขอดอน" :ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไผ่ขอดอน อยู่เลขที่ 6 หมู่ที่ 3 บ้านไผ่ขอดอน อ.เมือง จ.พิษณุโลก โทร.081-9719813
องค์ความรู้ด้านการเกษตร
เลี้ยงปลาในนาข้าว เลี้ยงกบ เลี้งหมูหลุม การขยายพันธ์พืชนานาชนิด

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลบ้านหนองกุลา : ทองปาน เผ่าโสภา

นายทองปาน เผ่าโสภา ประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนหนองกุลา อยู่เลขที่ 163 หมู่ที่ 14 บ้านหนองปลวก ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โทร.086-2063680

ประวัติการทำงาน

  • เกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2549 จาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดพิษณุโลก
  • ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6 ปี 2552
  • รางวัลเกษตรกรทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง จาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • รางวัลผู้ทำประโยชน์แก่วงการเกษตรของจังหวัดพิษณุโลก จาก เกษตรจังหวัดพิษณุโลก
  • รางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2549 จาก จังหวัดพิษณุโลก

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เกษตรผสมผสานบ้านทับหมัน จ.พิจิตร : นายสมพงษ์ ธูปอ้น


นายสมพงษ์ ธูปอ้น อยู่บ้านเลขที่ 80 หมู่ 6 บ้านทับหมัน ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร.083-9612099

คติประจำตัว

" ทั้งคู่สู้ไม่ถอย รักฝังใจ เหนื่อยหยุด หิวทาน ขยันลุก "

ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร

  • คิดค้นสมุนไพรป้องกันไข้หวัดนก
  • การปั้นเตาเผาถ่านเพื่อเก็บน้ำส้มควันไม้
  • การทำไร่นาสวนผสม
  • การเลี้ยงปลาธรรมชาติ

แนวคิดการสร้างเครือข่ายทางการเกษตร โดยต้องการให้เกษตรกรหันมาทบทวนการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง และธรรมชาติ สร้างเครือข่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกันในภูมิปัญา

รางวัลและเกียรติยศ ที่ได้รับ

  • รางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม จาก สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร
  • ปราชญ์ชาวบ้านรุ่นแรก ของชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จังหวัดพิจิตร
  • แกนนำสือสานภูมิปัญญาไทย สาขาเกษตรปลอดสารพิษ จาก กิจกรรมผู้สูงอายุรวมใจทำความดีถวายในหลวง 80 พรรษา
  • ผู้สูงอายุดีเด่น สาขาเกษตรปลอดสารพิษ จาก รพ.สมเด็จพระยุพราชตะพานหิน
  • ปราชญ์ชาวบ้าน จาก สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน จ.ตาก

วีดีโอ ตอนที่ 1

วีดีโอ ตอนที่ 2

วีดีโอ ตอนที่ 3

วีดีโอ ตอนที่ 4


เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมกับ เครือข่ายวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน โดยวิทยุ DFM 92.50 MHz จ.พิษณุโลก ร่วมด้วยช่วยกัน คลื่นความดี บริหารงานโดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค จัดโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน โดยนายประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง รักษาราชการแทนนายอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งนายโสภณ ใจลังกา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หละ กล่าวต้อนรับ และภาระกิต เจริญกองชู กล่าวรายงาน มอบของที่ระลึกโดยอุษา ประกอบทรัพย์ ผู้อำนวยการเครือข่ายวิทยุภูมิภาค บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด ณ สำนักสงฆ์บ้านแม่หละยาง หมู่ 2 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก นายโสภณ ใจลังกา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หละ กล่าวต้อนรับว่าตำบลแม่หละ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอ มีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน/ทำไร่ อาชีพเสริม เลี้ยงโค กระบือ รับจ้างทั่วไป จำนวนประชากรในเขต อบต. 7,980 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,302 หลังคาเรือน ประชากรรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองอย่างเคร่งครัด
การจัดโครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน สัมมนา “รู้ทันสุขภาพ ตามทันการเกษตร” เป็นโอกาสอันดีที่เราคนในพื้นที่จะนำความรู้ที่ได้รับจาก สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าสองยาง ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๙.๓ แม่สอด หน่วยควบคุมโรคติดต่อ ๙.๓.๑๐ อ.ท่าสองยาง สำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง และเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2551 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความร่วมมือของทุกท่านที่มีความตั้งใจที่จะนำความรู้มาเผยแพร่แก่ประชาชน นางสาวภาระกิต เจริญกองชู ผู้จัดการวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน พิษณุโลก ในนามผู้ร่วมจัดโครงการ กล่าวว่า โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน ในหัวข้อ รู้ทันสุขภาพ ตามทันการเกษตร โดยมีที่มาของโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน โดยเครือข่ายวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น. เรดิโอ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค เริ่มขึ้นปี 2551 มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในทุกๆ ด้าน อันก่อให้เกิดประโยชน์ ในการดำรงชีวิต และสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตร การพัฒนาชุมชน การพัฒนาบุคลากร หรือแม้แต่ทางด้านสุขภาพ และสาธารณสุขของชุมชน อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดโครงการแผ่นทองของแผ่นดินในครั้งนี้ ที่มุ่งเน้นในเรื่อง ภัยจากไข้หวัดนก ภัยจากโรคมาลาเรีย และเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยมีวัตถุประสงค์การจัดโครงการดังนี้
1. เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐาน รวมถึงรู้จักวิธีการป้องกันและเฝ้าระวังภัยให้ปลอดจากโรค
3. เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข
4. เพื่อให้ประชาชนในชนบท สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและยั่งยืนในถิ่นเกิดบนพื้นฐานของความพออยู่พอกิน
5. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำเกษตรกร เป็นตัวหลักในการเผยแพร่ความรู้สำหรับวิทยากรสนับสนุนทางวิชาการที่ให้การฝึกอบรมในวันนี้ได้แก่ คุณสุทิน เชื้อเทศ เจ้าพนักงานสัตวบาล ๒ สนง.ปศุสัตว์จังหวัดตาก ให้ความรู้เรื่องไข้หวัดนกในสัตว์ พร้อมบูธกิจกรรม
คุณฉัตรชัย อิ่มอ่อง นักวิชาการชำนาญการสนง.สาธารณสุขอำเภอท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่องไข้หวัดนกในคน พร้อมบูธกิจกรรม คุณกฤษณะ สุขอ่วม หน.หน่วยควบคุมโรคติดต่อ ๙.๓.๑๐ อ.ท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่องไข้มาลาเรีย และบูธกิจกรรมจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๙.๓ แม่สอด คุณวินัย เสริมตระกูล เกษตรอำเภอท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง และบูธกิจกรรมจาก สนง.เกษตรอำเภอท่าสองยาง และคุณบุญปัน ใจกว้าง เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดปี ๒๕๕๑ เล่าประสบการณ์การทำการเกษตร เพื่อเป็นประโยชน์ สำหรับเกษตรกร และครอบครัวของท่าน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก อสม.และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ตำบลแม่หละ ความพยายามเหล่านี้ เชื่อว่าจะประสบผลสำเร็จได้ ด้วยความร่วมมือ ด้วยดีจากทุกภาคส่วน ในนามผู้จัดงาน ขอขอบคุณทุกท่าน รวมทั้งสื่อมวลชน และขอขอบคุณโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย และขอบพระคุณท่านประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิด นายประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง ประธานในพิธี กล่าวว่า ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย จากโครงการในพระราชดำรินานัปการ และพระบรมราโชวาทตลอดระยะของการครองราชย์ บัดนี้ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระแสทางเลือกใหม่ของการพัฒนาประเทศที่ทำให้เราอยู่ได้อย่างยั่งยืนมั่นคงและเข้มแข็ง โดยมีการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ระหว่าง พ.ศ.2550 – 2554 จึงถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ภาครัฐมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภาคประชาชน โรคไข้หวัดนก จังหวัดตากได้มีการรณรงค์และระดมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง ฉีดยาฆ่าเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก โดยระดมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังและป้องกันไข้หวัดนก รวมทั้งอาสาสมัครปศุสัตว์-อสม.ทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อทำการพ่น ฉีดยาฆ่าเชื้อหวัดนกทั่วบริเวณพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก ทั้งไก่-เป็ด-นก-ห่าน- ฯลฯ นอกจากนี้ยังส่งเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ทั่วทั้งจังหวัดแบบ X-RAY ทุกตารางนิ้ว เพื่อฉีดยาฆ่าเชื้อและป้องกันทำลายไข้หวัดนกอย่างทั่วถึง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคไข้หวัดนกให้หมดไป ต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือ อย่างจริงจังของประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน โรคมาลาเรีย เนื่องจากพื้นที่อำเภอท่าสองยางจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่ติดชายแดนและมีผู้อพยพ ซึ่งอำเภอท่าสองยาง พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยตรวจพบเชื้อทั้งหมด (คนไทย, ต่างชาติ 1 และต่างชาติ 2) เพิ่มขึ้นสูงมากที่สุดของจังหวัดในปี 2552 โดยปี 2551 มีจำนวน 6,101 ราย เพิ่มขึ้นในปี 2552 เป็น 9,732 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.51 สาเหตุหลักคือมีการสู้รบกันในพม่าบริเวณใกล้ชายแดน และมีกลุ่มคนอพยพหนี้ภัยเข้ามาพักพิงในเขตพื้นที่อำเภอท่าสองยางจำนวนมาก บางกลุ่มก่อให้เกิดปัญหาการแพร่เชื้อขึ้นภายในหลายหมู่บ้านทั้งนี้ในส่วนวิสัยทัศน์ของการพัฒนาจังหวัดตาก มีหลายด้านแต่ที่สอดคล้องกับ โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน นั้นคือ ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง การเกษตรก้าวหน้าและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประชาชนมีจิตใจดี มีคุณธรรม จริยธรรมโดยอยู่ร่วมกันด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมเพื่อเป็นสังคมที่สงบสุข ประชาชนสนใจใฝ่รู้ในการพัฒนาตนเองและการงานอย่างต่อเนื่อง โดยแสวงหาความรู้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นสังคมแห่งการปรับตัว
การสัมมนาครั้งนี้ถือว่าสอดรับกับการดำเนินงานของหน่วยงานเป็นการร่วมมือกันทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน จึงขอขอบใจทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันดำเนินการในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสัมมนาจะก่อให้เกิดวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรค มาลาเรีย ไข้หวัดนก และพัฒนาความก้าวหน้าด้านการเกษตรต่อไป โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมจาก อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ประชาชนทั่วไปกว่า 190 คน

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศิริสมานฟาร์ม : นายศักดิ์ดา สนทิน


นายศักดา สนทิม เจ้าของฟาร์ม ศิริสมานฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ 3/2 หมู่ 6 ต.วังลึก อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย โทร.081-8875177 , 055-681254

ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ / บริหารธุรกิจ
ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน
รับราชการครู 2522 – 2540 โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยาคม บ้านด่านลานหอยวิทยา บ้านไร่วิทยาคม

กิจการปัจจุบันประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์และประมง ประกอบด้วย

เลี้ยงแม่สุกรจำนวน 300 แม่ สุกรขุน 2,400 ตัว ไก่ไข่ 28,000 ตัว ไก่สาวทดแทน 10,000 ตัว ปลาดุก 50 ตัน/ปี ลูกปลาดุก 10 ล้านตัว/ปี ปลานิล 30-50 ตัน/ปี ปลาสวาย 20 ตัน/ปี

ประสบการณ์การทำงานด้านเกษตร
  • ปี พ.ศ.2529 เริ่มเลี้ยงสุกรขุน 20 ตัว เห็นว่ากิจการไปได้ ค่อยๆเพิ่มการเลี้ยงทีละน้อย
  • ปี พ.ศ.2533-34 ตั้งกิจการฟาร์มเลี้ยงสุกร ขุน จำนวน 300 ตัว เพิ่มเลี้ยงแม่สุกร 10 แม่ เพิ่มเลี้ยงเป็ดไข่ 1500 ตัว เพิ่มจำนวนแม่สุกรเรื่อยๆ
  • ปี พ.ศ.2536 เลี้ยงไก่ไข่เพิ่มเติม 3,000 ตัว เลิกเลี้ยงเป็ดไข่ ตลาดหันมานิยมไข่ไก่
  • ปี พ.ศ.2538 ขยายการเลี้ยงแม่สุกรเป็น 170 แม่ เพื่อผลิตลูกเลี้ยงขุนเองทั้งหมด เลี้ยงไก่ไข่เพิ่ม เป็น 7,000 ตัว เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ 10 ไร่ ไม่เหมาะการเลี้ยง จึงย้ายไปเลี้ยงที่ใหม่ ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงไปเลี้ยงแบบผสมผสาน ลดมลภาวะ พื้นที่ ใหม่เริ่มแรกจำนวน 45 ไร่
  • ปี พ.ศ.2538 เพิ่มขยายการเลี้ยงแม่สุกร เป็น 200 แม่ ไก่ไข่ 10,000 ตัว โดยเตรียมย้ายกิจการมายังพื้นที่ใหม่ในปัจุบัน
  • ปี พ.ศ.2540 เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ฟาร์มที่กำลังเติบโตประสบปัญหาโดยตรง ต้นทุนค่าอาหารสูงขึ้นมาก ราคาไข่ไก่ สุกรตกต่ำ ขาดสภาพคล่อง ธนาคารคืนวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยสูง ลดการผลิต เพื่อความอยู่รอด หนี้สินเพิ่มมหาศาลอย่างไม่คาดคิด
  • ปี พ.ศ.2542 ปรับโครงสร้างหนี้สิน ขอเพิ่มเงินกู้เพื่อนำมาลงทุน และใช้หมุนเวียนในกิจการ ชะลอการส่งเงินต้น
  • ปี 2544 ขยายกิจการเพิ่มเติมเพราะเห็นว่า จะชำระหนี้ธนาคารไม่หมดแน่ นำกำไรมาลงทุนบางส่วนและปรับปรุงฟาร์มบางส่วน
  • ปี พ.ศ.2545 ดำเนินกิจการด้วยดีมาตลอด
  • ปี พ.ศ.2547 เกิดวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก ไข่ไก่ราคาตก ฟองละไม่ถึงบาทอยู่หลายเดือน แต่ภาวะราคาหมูกลับสูงขึ้นเพราะคนหันมากินหมู
  • ปี พ.ศ.2549 ราคาสุกรตกต่ำ เนื่องมีการขยายการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง ราคาต่ำสุด 28 บาทต่อกก. ขณะต้นทุน สูงถึง 42-45 บาท
  • ปี พ.ศ.2550 วิกฤตอาหารโลกและราคาน้ำมันสูง ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับขึ้นมาก เช่น ปลายข้าว จาก 9 บาทไปเป็น 14 บาท ต้นทุนสูงขึ้นไปเป็น สุกร 53 บาท ไข่ไก่ 2.5 บาทต่อฟอง ขณะราคาขายต่ำกว่ามาก
  • ปี พ.ศ.2551-ปัจจุบัน กิจการดำเนินด้วยดี แม้มีหนี้สินบ้าง เนื่องจากภาวะวิกฤต

ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน

เกิดวิกฤต ปี พ.ศ.2540 ศึกษาอาหารสัตว์ที่จะผสมใช้เองอย่างจริงจัง และสามารถผสมใช้เองทั้งหมดในฟาร์มลดต้นทุนการผลิตได้ปรับวิธีการเลี้ยงสุกร เน้นการจัดการ และเก็บข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้นมาก วางระบบการบริหารงานฟาร์ม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงานด้านการเลี้ยง

เริ่มเลี้ยงปลา ปี พ.ศ.2537 โดยเลี้ยงใต้เล้าไก่ ศึกษาแบบอย่างจากเชียงราย พัฒนาการรอดของลูกปลาดุก การเลี้ยงปลาดุกเชิงการค้า พัฒนาเครื่องผลิตอาหารปลาขึ้นใช้เองในฟาร์ม การเลี้ยงปลาผสมผสานโดยใช้มูลไก่ สุกร การนำน้ำที่เลี้ยงปลาดุกไปปลูกพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด


ด้านการตลาด
สร้างแบรนด์ไข่ไก่ โดยใช้ชื่อว่า ไข่โอชา เพื่อเพิ่มทางการตลาด พัฒนาตัวสินค้า สุกรขุน ให้ตลาดเป็นที่ยอมรับ

พัฒนาการรอดของปลาดุก

ศึกษาการเทคนิควิธีการอนุบาลลูกปลาดุกตุ้ม ปัญหา การอนุบาลลูกปลามักประสบปัญหาจำนวนลูกปลาเหลือรอดน้อย การศึกษา
- เพิ่มจำนวนแพลงตอนสายคอเรลลา
- เพิ่มจำนวนไรแดงในบ่อดิน
- ลดปัญหาการหมักเน่าน้ำพื้นล่าง
ปัจจุบัน พัฒนาการรอดเฉลี่ย 50 % สูงสุด 70 %

พัฒนาเครื่องผลิตอาหารขึ้นใช้เอง

เริ่มต้นใช้เครื่องบดเนื้อ พยายามอัดเม็ด สร้างสูตรอาหารโดยศึกษาจากหนังสือและตำราต่างๆ ศึกษาจากคู่มือทางวิชาการ เกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยง สร้างและพัฒนาโดยการลองผิดลองถูก พัฒนาเครื่องให้มีขนาดใหญ่และทนทานมากขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องอัด 2 เครื่อง

การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

  • ฟาร์มเป็นแหล่งให้ความรู้ แก่เกษตรกรหลายครั้ง
  • เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงมากมายหลายครั้ง
  • เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าทำงานช่วงปิดภาคเรียนและให้นักศึกษาเข้าฝึกงาน
  • ปัจจุบันฟาร์มเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
  • เป็นศูนย์สื่อสารด้านราคา สุกร วัตถุดิบ อื่นๆ นอกเหนือจากการให้ความรู้

การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

  • สิ่งที่ภูมิใจคือ การเลี้ยงสุกรไก่ไข่ ไม่มีกลิ่น น้ำเสีย สกปรก
  • การพัฒนาระบบการเลี้ยงที่เกื้อกูล ใช้เทคนิคเชิงวิทยาศาสตร์ ที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้
    นำมูลสัตว์ น้ำเสีย ของเหลือ วัชพืช นำไปเลี้ยงปลาให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหาเรื่องมลภาวะ

การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มมุ่งสู่ปศุสัตว์อินทรีย์

  • อาหารสัตว์ในฟาร์มไม่มียาต้องห้าม
  • ใช้ยาปฏิชีวนะเพียงเพื่อป้องกันโรคมากกว่าการรักษา
  • ใช้จุลินทรีย์ลักษณะโปรไอติกในอาหารสัตว์
  • การเลี้ยงเน้นการจัดการ มากกว่าการใช้ยา เช่น ความสะอาด การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฟาร์มฉัตรพันธ์ปลา : นายจำรุณ รอดทับทิม

นายจำรุญ รอดทับทิม เจ้าของฟาร์มปลาเงินล้าน "ฉัตรพันธุ์ปลา" กว่า 13 ปีที่ตั้งมั่นเพาะพันธุ์ปลาคุณภาพ คู่คุณธรรม ยึดมั่นคติที่ว่า "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน"อยู่ที่บ้านเลขที่ 93 หมู่ที่ 3 บ้านไผ่คอม ตำบลปากโทก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันจำหน่ายพันธุ์ปลาหลากหลาย อาทิ ปลาบึก ปลาทับทิมแปลงเพศ ปลาดุก ปลาสวาย ปลาไน ปลานิล ฯลฯ สอบถามติดต่อได้ที่ โทร.081-9727995 , 081-9729811 ,081-7791353

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตนเองบ้านวังขาม

นายสุพัฒน์ ภมรพิพัฒน์ ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตนเองบ้านวังขาม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 73/1 หมู่ที่ 3 บ้านวังขาม ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร.084-9512413 , 056-820241

ประวัติส่วนตัว

นายสุพัฒน์ ภรมพิพัฒน์ เกิดปี พ.ศ.2490 อาชีพเกษตรกรรม ภูมิลำเนาเดิมย้ายยมาจากจังหวัดนครราชสีมา มีบุตร 1 คน สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายสุพัฒน์ ภรมพิพัฒน์ เดิมมีหนี้สินมากมาย เตยไปขายแรงงานที่ต่างประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อกลับมาเมืองไทยจึงมุมานะทำการเกษตรจนสามารถใช้หนี้ได้หมดโดยทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมประกอบกับเป็นบุคคลที่มีความมานะอดทนช่างสังเกตุ และหมั่นเรียนรู้เข้าศึกษาอบรมตามที่หน่วยงานต่างๆ ได้จัดอบรมจึงเรียนรู้ทุกอย่างรวดเร็วและได้รับการคัดเลือกให้เป็นวิทยากรหมอดินประจำอำเภอ ปัจจุบัน มีพื้นที่ประกอบการเกษตรทั้งหมด 61 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าว 14 ไร่ ปลูกข้าวขาวดอกหอมมะลิ 105 ผลผลิต 80 ถัง/ไร่ และข้าวพันธุ์ชัยนาทได้ผลผลิต 105 ถัง/ไร่ (ใช้น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ และสมุนไพรไล่แมลง) มีพื้นที่ปลูกสัก 8 ไร่ มีการปลูกอ้อยสาธิต 8 แปลง พื้นที่ปลูกอ้อย 35 ไร่ แปลงที่ได้ผลดีได้ไร่ละ 23 ตัน/ไร่ โดยการปลูกปอเทือง ก่อนปลูกอ้อย พื้นที่ปลูกบ้าน 4 ไร่ (คอกสัตว์ โรงเก็บพัสดุ แปลงผักและผลไม้ เช่น มะกรูด ชมพู่ มะขามเทศ มะม่วง ลำไย มะเฟือง กล้วยน้ำหว้า มะละกอ กวางตุ้ง มะนาว มะพร้าว ต้นหอม กระเทียม มะเขือ และสมุนไพร)ความคิดริเริ่ม จัดทำปุ๋ยหมักใช้เองปีละ 4-5 ตัน จากมูลสัตว์ที่เลี้ยงเองภายในครอบครัว โดยใช้สารเร่ง พด.1 และทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชและสัตว์โดใช้สารเร่ง พด.2 จัดทำสารสกัดพืชสมุนไพรและฆ่าแมลง โดยใช้ หางไหล ใบน้อยหน่า หนอนตายอยาก สาบเสือ ใบยูคาลิปตัส- จัดทำน้ำส้มควันไม้ โดยติดตั้งเตาเผา จำนวน 2 เตา การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน โดยการปลูกถั่วเขียว ปอเทือง เป็นพืชบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยชีวภาพมาประมาณ 8-9 ปี ประสบความสำเร็จในการใช้ผลผลิตดีโดยไม่ใช่ปุ๋ยเคมี ทำไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง นำเอามูลวัวมาจัดทำบ่อแก๊สชีวภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ ทำการเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

รางวัลที่ได้รับ

-ได้รับรางวัล ผู้นำอาชีพก้าวหน้า ระดับจังหวัด ประจำปี 2540 จากกระทรวงมหาดไทย

- ได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว ลำดับที่ 3 ของประเทศ ประจำปี 2541 โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

- ได้รับรางวัลที่ 1 โคนมเพศเมีย อายุ 12-18 เดือน จากการประกวดสัตว์ระดับเขต ของสำนักงานปศุสัตว์ เขต 6 จังหวัดพิษณุโลก ประจำปี 2544

- ได้รับดัดเลือก โดย กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหมอดินอาสาดีเด่น ประจำตำบลระดับจังหวัด ประจำปี 2547

- เป็นศูนย์การเรียนรู้ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลสระกรวด ด้านไร่นาสวนผสม - เป็นศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ดินของสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์

- เป็นศูนย์การเรียนรู้ของปศุสัตว์อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

- เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด โดยในปี 2551 อบรมจำนวน 130 คน ปี 2552 อบรม จำนวน 150 คน โดยยึดหลักการให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการจักสานกลุ่มศิลปะประดิษฐ์ตำบลท้อแท้ จังหวัดพิษณุโลก

นางน้ำเชี่ยว มากศรทรง กลุ่มศิลปะประดิษฐ์ตำบลท้อแท้ 19 ม.2 บ้านท่าช้าง ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โทร.055-291541 , 081-6053268

การตัดแต่งกิ่งมะปรางสวนตาพ้อม

นายพร้อม เฉียบแหลม อยู่ที่บ้านเลขที่ 67 หมู่ที่ 3 ตำบลวังพิณพาทย์ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โทร.081-0450040

นายพร้อม เฉียบแหลม กล่าวว่าตนเองมีความเชื่อมั่นที่ว่า "ดินดี น้ำดี พันธุ์ดี ขยันดี" พื้นที่ของอำเภอสวรรคโลก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นและอากาศดี เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตรและพืชสวนเป็นอย่างยิ่ง โดยเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดินให้มีชีวิตด้วยการนำวัชพืชที่เหลือใช้ เช่น ซังถั่ว ฟางข้าว ที่ชาวไร่ชาวนาจะเผาทิ้ง รวมทั้งใบไม้และเศษวัชพืชในสวนที่กำจัดทิ้ง ผสมกับมูลสัตว์ที่หาได้ง่ายในหมู่บ้าน นำมากองรวมกันหมักด้วยสารจุลินทรีย์ อี เอ็ม ตามวิธีการ จะเป็นปุ๋ยหมักอย่างดีนำไปใส่ให้กับต้นไม้ก็จะเจริญงอกงาม ส่วนสารเคมีนั้นจะหันมาใช้สารสกัดจากสะเดาหมักตามวิธีการ ผสมกับยาเส้น (ยาฉุน) นำไปฉีดไล่แมลง นอกจากนั้นยังได้นำสมุนไพรไทยมาสกัดเป็นยาฉีดพ่นไล่แมลงอย่างได้ผลอีกมากมาย เช่น ข่า ตะไคร้ ขิง บอระเพ็ด เป็นต้น เพราะการสมดุลทางธรรมชาติ และเน้นที่ความสะอาดของสวนเป็นหลักทำให้แมลงที่ไม่มีประโยชน์ในสวนจะมีน้อยมาก นอกเหนือจากนั้นเศษผลไม้ที่ตกหล่นหรือไม่มีคุณภาพ ก็ยังสามารถนำมาหมักกับจุลินทรีย์ให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยชีวภาพให้กับต้นไม้ผลทางดินอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนน้ำที่หมักได้นั้นนำไปผสมกับน้ำสะอาดตามอัตราส่วน นำไปฉีดพ่นต้นพืชทางใบ เป็นฮอร์โมนพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย

หน่วยงานของรัฐได้นำเกษตรกรและผู้สนใจเข้าไปศึกษาวิธีการและนำไปปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ นอกจากนี้พื้นที่อำเภอสวรรคโลกมีแม่น้ำยมไหลผ่านตลอดทั้งปี สวนของนายพร้อม เฉียบแหลม อยู่ติดกับริมแม่น้ำ จึงเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชสวนต่างๆ เป็นอย่างมาก นายพร้อม ได้หาวิธีการนำน้ำจากแม่น้ำยมขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการวางท่อสูบน้ำขึ้นมา

ส่วนในเรื่องของพันธุ์ดีนั้น เดิมชาวสวนมักจะไม่มีการพัฒนาพันธุ์ดี ยังคงปลูกพืชสวนซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองตามแบบนิยม ผลผลิตออกมาขายได้ราคาไม่ดี ไม่มีผู้นิยม ไม่ตรงตามความต้องการของท้องตลาด นายพร้อม เฉียบแหลม จึงทำการศึกษาค้นคว้า และหาพันธุ์ไม้ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครปลูกในท้องถิ่น การพัฒนาพันธุ์ไม้ในสวนอย่างไม่หยุดยั้งจากแหล่งที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้ในทุกภาคของประเทศไทยจนเป็นผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป อาทิ ไม้ผลกระท้อนได้พัฒนาพันธุ์เดิม คือ พันธุ์ทับทิม พันธุ์อีล่า มาเป็นพันธุ์ทองกำมะหยี่ พันธุ์นิ่มนวล มะปราง-มะยงชิด ก็พัฒนาจากพันธุ์พื้นเมืองเดิม จนมาเป็นมะปราง-มะยงชิด ที่ให้ผลใหญ่ขนาดเท่าหรือใหญ่กว่าไข่ไก่ ฯลฯ

เทคนิคการเสียบยอดสะเดาทวาย

สวนลุงบุญช่วย มั่นคง เกษตรกรคนเก่งจังหวัดสุโขทัย อยู่ที่เลขที่ 87/1 หมู่ 5 ตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย โทร.086-213902

นายบุญช่วย มั่นคง เกษตรกรบ้านโรงเจ๊ก อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ทำสวนไม้ผล ในพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ที่ผ่านมาได้ใช้สารเคมีฉีดพ่นไม้ผลในสวน ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ดินมีสภาพเสื่อมโทรม ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพต่อมาได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ให้ไปศึกษา อบรมและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สารสกัดสมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช และการผลิตน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีโดยนำสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ข่า ใบสาบเสือ พริกแห้ง กระเทียม บอระเพ็ด เปลือกมังคุด ฝักคูณ ไพล กระทือ สับให้ละเอียด ใส่ในถังตุ๋น 200 ลิตร นำน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตได้ ใส่ลงไปจนท่วมสมุนไพรในถัง และควบคุมความร้อนด้วยเทอโมมิเตอร์ ให้ได้อุณหภูมิประมาณ 60 ถึง 70 องศาเซลเซียส ต้มทิ้งไว้นาน 10 ถึง 15 ชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้สารต่างๆ ที่อยู่ในสมุนไพรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นำไปเก็บไว้ในถัง เมื่อจะใช้ฉีดพ่น ให้นำสมุนไพรที่ตุ๋นได้ 50 ซีซี ผสมน้ำส้มควันไม้ 50 ซีซี น้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ช่วยกำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง และแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิดจากที่ใช้สารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันนี้เกษตรกรได้เปลี่ยนมาใช้สารสกัดสมุนไพรสูตรน้ำตุ๋นทั้งหมด โดยไม่ใช้สารเคมีเลย ช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก

สารคดีเกษตร : สูตรน้ำตุ๋นสมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช

http://www.ch7.co.th/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=42517

วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

การปลูกข้าวแบบนาโยน

นาโยน คือ การปลูกข้าวแบบโยนกล้า (parachute) เป็นการทำนาแบบใหม่ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างนาดำ กับนาหว่านน้ำตม เป็นวิธีการโยนตุ้มต้นกล้าที่เพาะไว้แล้วลงในแปลง ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนการถอนกล้าปักดำด้วยแรงงานคน และการปักดำด้วยเครื่องได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า แต่ได้ผลผลิตไม่แตกต่างจากการปักดำด้วยเครื่อง หรือด้วยคน หรือการหว่านน้ำตม ที่สำคัญ คือสามารถควบคุมวัชพืชโดยเฉพาะข้าววัชพืชที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงได้ผลเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ และสารเคมีกำจัดวัชพืชลง

แหล่งข้อมูลเรียบเรียง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ หาญวงษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก

ที่ติดต่อ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 055-298438-39 โทรสาร 055-298440 มือถือ 084-6185733

บทสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ผลิตข้าวนาอินทรีย์ บ้านใหม่เจริญผล นายประสิทธิ์ ดีชูเม็ง เลขที่ 239 หมู่ที่ 2 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

โทร.083-9570219

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

โครงการวิจัยกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชน

ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.จรัณธร บุญญนุภาพ คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร บรรยายและให้ความรู้เชิงวิชาการและผู้เข้าร่วมโครงการ

ภาพแสดงสภาพพื้นที่ที่เกิดความเสียหายจากน้ำป่ากัดแซะในปีที่ผ่าน

บรรยากาศผู้เข้าร่วมโครงการ

มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพิษณุโลก จัดโครงการ โครงการวิจัย เรื่อง ”กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชน บนฐานของการใช้ระบบฐานข้อมูลแบบมีส่วนร่วมของประชาชน” โดยการสนับสนุนของ แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีความประสงค์จะจัดเวทีนโยบายสาธารณะ เรื่อง “การกำหนดร่างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์”

เพื่อระดมความคิดเห็นของภาคีเครือข่าย ในการร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตำบลแม่พูล โดยมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในสวนไม้ผลผสมบริเวณภูเขาสูงชัน รวมถึงกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันดินถล่มและการชะล้างพังทลายของหน้าดินบนพื้นที่ลาดชัน

โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.เพื่อรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลแม่พูล
2.เพื่อสรุปประเด็นปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลแม่พูล
3.เพื่อระดมความคิดในการหาแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดร่างนโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ตำบลแม่พูล
4.เพื่อนำร่างนโยบายสาธารณะที่ได้จากการระดมความคิด มากำหนดนโยบายสาธารณะและดำเนินโครงการ
กิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2553 - 2555) ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูลโดยมีกลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมนักวิชาการและผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรอำเภอลับแล เกษตรตำบลแม่พูล นายกและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูล หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านผามูบ กำนันตำบลแม่พูล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 11 ในตำบลแม่พูล หมอดินอาสาประจำตำบลแม่พูล หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 11 สื่อมวลชนท้องถิ่น (ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดอุตรดิตถ์) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 35 คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
เพื่อนำร่างนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการระดมความคิดหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหามากำหนดนโยบายสาธารณะ โครงการและกิจกรรมที่ได้ร่วมกันกำหนดเพื่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ปฏิบัติ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากชุมชนในท้องถิ่น เพื่อดำเนินการปรับแก้นโยบายและโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน แล้วนำนโยบายสาธารณะและโครงการที่ได้ปรับแก้แล้วเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อผลักดันให้นโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติที่แท้จริงในพื้นที่

สอบถามรายละเอียดและร่วมโครงการ ได้ที่
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์ 055-457359

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ทีโอที เปิดตัว โครงการ ทีโอทีรักคุณ ยิ้มสดใส เต็มใจให้บริการ และ โครงการ Phitsanuloke Wi-Fi City

พิธีมอบใบประกาศนียบัตร พนักงานศูนย์บริการยอดเยี่ยมประจำปี 2553

พิธีเปิดศูนย์บริการ Phitsanulok Wi-Fi City ณ ศูนย์บริการ ทีโอที สาขาริมน้ำ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

เมื่อวันที่ วันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2553 เวลา 9.00 น. นายรังสรรค์ จันทร์นฤกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ภาคขายและบริการภูมิภาคที่ 3 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์บริการลูกค้าสาขาริมน้ำ โครงการ ‘ทีโอทีรักคุณ ยิ้มสดใส เต็มใจให้บริการ”

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน ) ได้เปิดศูนย์บริการลูกค้าสขาริมน้ำ โครงการ‘ทีโอทีรักคุณ ยิ้มสดใส เต็มใจให้บริการ” ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการลูกค้าให้ได้รับความสะดวกสบาย ด้วยบริการที่รวดเร็ว แบบ One Sto Service โดยนำโปรแกรม NSI Plus 2.10 ( New Service Innovation Plus) มาให้บริการลูกค้า เพื่อเป็นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดในการบริการแก่ลูกค้า โดยมี คุณสิรินดา ทองมา ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการศูนย์ บริการลูกค้าสาขาริมน้ำ และพนักงาน คอยให้การต้อนรับลูกค้สด้วยความยินดีและเต็มใจ นอกจากนี้ ลูกค้าสามารถเลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ของ บมจ.ทีโอที ได้ในราคาพิเศษสุดๆ รวมถึง บัตรอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง Wi-Fi ในราคา 30 บาท , 60 บาท , 100 บาท , และ 50 บาท

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ภาคขายและบริการภูมิภาคที่ 3 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ เทศบาลนครพิษณุโลก โดย ดร.เปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรี เทศบาลนครพิษณุโลก เปิดให้บริการระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง Wi-Fi และได้รับเกียรติจาก ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้เกียรติร่วมเปิดงานโครงการ "Phitsanuloke Wi-Fi City"

บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน ใช้ดำเนินการเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (Wi-Fi) ชื่อโครงการ "Phitsanuloke Wi-Fi City"เพื่อเปิดบริการแก่ชาวพิษณุโลกรวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในการติดต่อสื่อสารบนโลกอินเตอร์เน็ต โดยมีพื้นที่ให้บริการ ดังนี้ บริเวณห้องสมุดเทศบาลนครพิษณุโลก บริเวณสวนชมน่าน ทั้ง 2 ฝั่ง บริเวณตลาดไนท์บาร์ซ่า และนเขตพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งดำเนินการติดตั้งภายในปี 2553 โดยลูกค้าสมารถซื้อบัตรอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ( Wi-Fi) ได้ตามสถานที่ดังนี้
1. ห้องสมุดเทศบาลนครพิษณุโลก ถ.ขุนพิเรนทรเทพ จ.พิษณุโลก
2. อาคารเทศบาลนครพิษณุโลก ถ.บรมไตรโลกนาถ 2 อ.เมือง จ.พิษณุโลก
3. ศูนย์บริการลูกค้าสาขาริมน้ำ ถ. พุทธบูชา อ.เมือง จ.พิษณุโลก
4. ศูน์บริการลูกค้าสาขาพิษณุโลก (ห้าแยกโคกมะตูม) ถ.พิชัยสงคราม อ.เมือง จ.พิษณุโลก

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทชั้นนำด้านสื่อสารโทรคมนาคม มีความพร้อมในการขยายการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (TOT Wi-Fi) เพื่อรองรับความต้องการด้านการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นประตูสู่แยกอินโดจีน ในการพัฒนาศักภาพด้านการสื่อสารข้อมูล และส่งผลกระทบที่ดีต่อเศรษฐกิจ ของประเทศต่อไป

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

เตรียมพบกับโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน จังหวัดตาก 14 พฤษภาคม 2553


โครงการแผ่นทองของแผ่นดิน
โครงการแผ่นทองของแผ่นดิน โดยเครือข่ายวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น. เรดิโอ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค เริ่มขึ้นปี 2551 มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในทุกๆ ด้าน อันก่อให้เกิดประโยชน์ ในการดำรงชีวิต และสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตร การพัฒนาชุมชน การพัฒนาบุคลากร หรือแม้แต่ทางด้านสุขภาพ และสาธารณสุขของชุมชน อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดโครงการแผ่นทองของแผ่นดินในครั้งนี้ ที่มุ่งเน้นในเรื่อง ภัยจากไข้หวัดนก ภัยจากโรคมาลาเรีย และเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โรคไข้หวัดนก
จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม วิถีชีวิตจึงไม่สามารถหลีกพ้นจากการใกล้ชิดกับสัตว์ปีกไปได้ ความเคยชินมาช้านานทำให้ขาดความระมัดระวัง และรู้ไม่เท่าทันถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นแหล่งที่นกอพยพหนีหนาวจากส่วนต่างๆของโลกไม่ว่าจะเป็น ไซบีเรีย รัฐเซีย จีน ฯลฯ บินผ่าน จึงมีอัตราเสี่ยงจากเชื้อโรคที่มากับนกอพยพเหล่านี้สูง ในทุกภูมิภาคของไทยจึงพบการแพร่ระบาดได้ โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง อีกทั้งทั่วโลกก็ยังพบการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง และจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายข้ามประเทศ ข้ามทวีป ได้ในระยะเวลาอันสั้น
เมื่อมนุษย์มีการพัฒนา เชื้อโรคต่างๆ ก็พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการกระจายของเชื้อได้อย่างชนิดที่ตามแทบไม่ทันเช่นกัน นี่คือความน่ากลัว ที่เราชาวไทยควรตระหนักและรับรู้ร่วมกัน เพื่อเตรียมการป้องกัน-แก้ไข ก่อนจะสายเกินไป


โรคมาลาเรีย
มาลาเรียเป็นโรคที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มนุษย์มาช้านาน มักพบในทวีปแอฟริกาและเอเชีย อันเป็นประเทศยากจนที่อยู่ในเขตร้อน ซึ่งกว่าจะรู้เท่าทันมีวิธีป้องกันรักษาก็ต้องสูญเสียชีวิตผู้คนจากทั่วโลกไปมากมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เคยตั้งความหวังว่าจะกำจัดมาลาเรียให้หมดไปได้ แต่กระทั่งปัจจุบันชาวโลกก็ยังไม่ปลอดภัย ทั้งนี้เพราะความจนและพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล การมีบ้านพักที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การมีระบบสาธารณสุขที่ไร้ประสิทธิภาพ ทั้งหลายทั้งปวงนี้คือเหตุผลที่ทำให้มาลาเรียระบาดอย่างไม่รู้จบ นักวิชาการ ผู้ชำนาญการต่างๆ ยังคงคิดค้นหาวิธีต่อสู้เพื่อเอาชนะมาลาเรียให้ได้อย่างเด็ดขาด
องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า ทุกปีจะมีพลโลก 400 ล้านคนล้มป่วยเป็นไข้มีอาการหนาวสั่นด้วยมาลาเรีย และ 2 ล้านคน จะเสียชีวิตด้วยโรคนี้นั่นคือในทุก 30 วินาที จะมีคนตายด้วยโรคมาลาเรีย 1 คน อีกทั้งองค์การสหประชาชาติ ยังมีรายงานว่าเหยื่อของโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบโดยเฉพาะในกรณี ครอบครัวที่ยากจนโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเป็นไปได้สูง ทารกที่ป่วยเป็นมาลาเรียหากไม่ตาย การพัฒนาการด้านสมองจะไม่สมบูรณ์สตรีมีครรภ์หากได้รับเชื้อมาลาเรีย ลูกที่คลอดจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐาน รวมถึงรู้จักวิธีการป้องกันและเฝ้าระวังภัยให้ปลอดจากโรค
3. เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข
4. เพื่อให้ประชาชนในชนบท สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและยั่งยืนในถิ่นเกิดบนพื้นฐานของความ
พออยู่พอกิน
5. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำเกษตรกร เป็นตัวหลักในการเผยแพร่ความรู้

ผู้ร่วมโครงการ
1. องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID)
2. สถาบันคีนันแห่งเอเชีย
3. โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค
4. มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด
5. บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น. เรดิโอ จำกัด (ผู้บริหารเครือข่ายวิทยุร่วมด้วยช่วยกันฯ)
6. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
7. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกได้รับการเผยแพร่ไปสู่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชนซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่โดยตรง รวมถึงสื่ออื่นๆ อันประกอบด้วยระบบมือถือ ระบบอินเตอร์เน็ต และวิทยุ ทำให้การเผยแพร่กระจายสู่ประชาชนเป็นไปในวงกว้าง ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก และโรคมาลาเรียลดลงในอนาคต

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

ร่วมด้วยช่วยภัยหนาว ครั้งที่ 6

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด โดย สถานีวิทยุ DFM 92.50 MHz จังหวัดพิษณุโลก ร่วมด้วยช่วยกัน คลื่นความดี ร่วมกับ สมาคมสื่อสารมวลชนจังหวัดพิษณุโลก เดินทางไปมอบผ้าห่ม อุปกรณ์การเรียน การกีฬา อาหารกลางวัน แก่โรงเรียนกลุ่มวัดโบสถ์ 2 จำนวน 11 โรงเรียน โดยมีผู้สนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำ ภาค 9 บริษัท ท็อปแลนด์และในเครือ ชมรมลำน้ำเข็กออฟโรดพิษณุโลก หนังสือพิมพ์เผ่าไทย หนังสือพิมพ์ธรรมรัฐ หนังสือพิมพ์ประชากร พันตำรวจเอกจอมพจน์ สังข์สุข ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรวัดโบสถ์ และโรงทานเจ๊ดา ซึ่งมีนายอุดม สายโท รองผู้อำนายการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พิษณุโลกเขต 3 พร้อมด้วยนายชาลี ดายี่ ผู้อำนวยการโรงเรียนคันโช้งพิทยาคม และนายปราโมทย์ เมืองเปรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนคันโช้งพิทยาคม ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677 บริการฟรี จาก ดีแทค

ทางด่วนการเกษร *1677 ฟรีบริการข้อมูล

  1. หมวดทุ่งร่วงทอง กด *16771111 กดโทรออก
  2. หมวดสวนเงินไร่ทอง กด *16771211 กดโทรออก
  3. หมวดปศุสัตว์เศรษฐีและการประมง *16771311 กดโทรออก
  4. บริการ MMS ภาพและเสียงข้อมูลการเกษตร กด *1677 กด 2 (บริการศูนย์ Call center) โทรฟรี Dtac

สอบถามเพิ่มเติม โทร.1677 , 055-212445-6 , 081-5339770

สร้างฝายกันน้ำบ้านปากรอง หมู่ที่ 3 ต.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก

วันที่ 16 มีนาคม 2553 นายอภิวัฒน์ รัตนนาคินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด นำทีมสถานีวิทยุ DFM 92.50 MHz ร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดพิษณุโลก คลื่นความดี ลงพื้นที่บ้านปากรอง หมู่ 3 ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก โดยนายประสงค์ อุไรวรณ์ นายอำเภอชาติตระการ เป็นประธานพิธีเปิด ซึ่งในวันนี้มีส่วนราชการเข้าร่วมพร้อมประชาชน ประมาณ 100 คน และกิจกรรมได้ดำเนินการหลังเสร็จพิธีเปิด โดยนายอำเภอชาติตระการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด กำนันตำบลชาติตระการ ได้เริ่มวางถุงทรายเพื่อเปิดฤกษ์และร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำ บริเวณลำน้ำภาคขนาด ยาว 30 เมตร สูง 2.50 เมตร สนับสนุนสร้างสรรค์ความดีโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และร่วมโครงการโดย สถานีวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน คลื่นความดี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลชาติตระการ ราษฎรบ้านปากรอง และที่ทำการปกครองอำเภอชาติตระการ

ร่วมด้วยช่วยจัดโครงการ ปั่นจักรยานเพื่อน้อง ปีที่ 2 จ.พิษณุโลก

มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ร่วมกับดีแทค แพนคอสเมติค และ DFM จัดโครงการปั่นจักรยานเพื่อน้อง เมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานปล่อยขบวนนักปั่นจักรยาน ตามโครงการปั่นจักรยานเพื่อน้อง เพื่อรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน โดยหันมาใช้รถจักรยานเป็นยานพาหนะ ในการเดินทางระยะสั้นๆ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อจัดหารถจักรยานให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลใช้เป็นพานพาหนะในการเดินทางไปโรงเรียน

แพนคอสเมติค โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค และ สถานีวิทยุ DFM 92.50 ร่วมด้วยช่วยกัน จังหวัด พิษณุโลก คลื่นความดี จัดโครงการ ปั่นจักรยานเพื่อน้องปีที่ 2 ณ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก โดยมี ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน และนายพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวรายงาน และกล่าวต้อนรับโดย นายจำลอง อาญคงหาญ เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และได้ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ จากผลิตภัณฑ์แพนคอสเมติค นำโดย คุณประติชญา ตั้งใจใหญ่ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ไมนัส ซัน และทีมจากกิจกรรมพิเศษอาวุโส ผลิตภัณฑ์ แพน แอคนิแคร์ ซึ่งโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค มอบคอมพิวเตอร์มือ 2 จำนวน 5 เครื่องกับกับโรงเรียน โรงเรียนวัดยางมีมานะวิทยา โรงเรียนวัดอรัญญิก อำเภอเมือง โรงเรียนวิทยสัมพันธ์ ตำบลห้วยเฮี้ย อำเภอนครไทย โรงเรียนบ้านวังพรม อำเภอวังทอง และโรงเรียนบ้านถ้ำพริก ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้มีผู้ปั่นจักรยานหลักทั่วประเทศโดยนายกฤษณ์ พรหมเชื้อ และนายกำธร อุณหกาญจน์กิจ และมีหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพเข้าร่วมปั่นจักรยานโดย นายแพทย์ภูวนนท์ เอี่ยมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 2 พิษณุโลก พร้อมเจ้าหน้าที่และขอขอบคุณ ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลรัตนเวช สิงห์คอร์เปอเรชั่น และขอบคุณนายแพทย์สานิต แซ่ลิ้ม ประธานชมรมปั่นจักรยานจังหวัดพิษณุโลก นำชมรมปั่นจักรยานเข้าร่วม มีชมรมปั่นจักรยานกองบิน 46 ชมรมปั่นจักรยานแอร์พอร์ต ชมรมจักรยานเพื่อนอินโดจีน ชมรมปั่นจักรยานเด็กโรงกลึง ชมรมจักรยาน SM Bike ชมรมปั่นจักรยานเสือบ้านคลอง ชมรมปั่นจักรยานตำบลหัวรอ นำโดยประธานชมรม นายนพคุณ แถมพยัคฆ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวรอ และขอขอบคุณสื่อมวลชนจาก สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 7 สถานีโทรทัศน์อ.ส.ม.ท.(Modern nine TV ช่อง 9) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เคเบิลทีวีท้องถิ่น โดย บริษัท เอ็ม. เอส. เอส. พิษณุโลก เคเบิลทีวี จำกัด และหนังสือพิมพ์ในเครือสมาคมสื่อสารมวลชนพิษณุโลก นำโดยพันจ่าอากาศเอกนพดุลย์ ใจอารีย์ นายกสมาคมสื่อสารมวลชนพิษณุโลก กรรมการบริหารสมาคมหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยดีเพราะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สถานีวิทยุ DFM 92.50 MHz ร่วมด้วยช่วยกัน จังหวัดพิษณุโลก ร่วมด้วยช่วยกัน คลื่นความดี

โดยทุกระยะทาง 1 กิโลเมตร ผู้จัดงานและผู้สนับสนุนโครงการ บริจาค 20 บาท ต่อจักรยานที่เข้าโครงการ 1 คัน เพื่อซื้อจักรยานแจกเด็กนักเรียน โดยโครงการจัดเก็บระยะทางเพื่อหาทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และจักรยานเพื่อมอบให้กับโรงเรียน ตชด.คณะนักปั่นจักรยานเพื่อน้อง ออกจากหน้าศาลากลาง จ.พิษณุโลก ไปกราบสักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่บริเวณพระราชวังจันทน์ ไปกราบสักการะพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และปั่นไปยังบริเวณสามแยกอินโดจีน DFM พิษณุโลก โดยมีผู้ร่วมปั่นขักรยานทั้งสิ้น 335 คัน