เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2553 บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูลนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค นำโดย คุณศุภิสรา ดวงแก้ว ผู้ช่วยผู้จัดการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด พร้อมทีมเยาวชนอาสาจังหวัดนครสวรรค์ คุณภาระกิต เจริญกองชู ผู้จัดการรายการร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดพิษณุโลก FM 92.50 MHz. ผู้นำชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด จังหวัดพิษณุโลก ร่วมปลูกป่าในโครงการ " พลิกฟื้นพื้นป่า ด้วยพระบารมี " ณ อุทยานนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยในงานมีผู้เข้าร่วมปลูกป่ากว่า 200 คน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านด่านนาขาม : นายฟื้น โชวันดี
นายฟื้น โชวันดี ประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านด่านนาขาม อยู่บ้านเลขที่ 237 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 โทร.084-3739510
รางวัลเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับจากหน่วยงานต่างๆ
- ปี พ.ศ 2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็น “ ปราชญ์ชาวบ้าน “ คำสั่ง จังหวัดอุตรดิตถ์ที่ 2374/2546 ตามคำสั่ง นายปรีชา บุตรตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด
- ปี พ.ศ.2546 รางวัลชมเชย ในการประกวดภูมิปัญญา ท้องถิ่นภาคเหนือประเภทเครื่องมือห่อหุ้ม และเก็บ เกี่ยวผลไม้สำหรับเกษตรกรรายย่อย จากสำนักงานส่งเสริม และการพัฒนาการเกษตรที่6 จังหวัดเชียงใหม่
- ปี พ.ศ.2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็ผู้ทรงคุณวุติ อนุกรรมการพัฒนาการเกษตร วิทยาการเกษตรอินทรีย์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
- ปี พ.ศ.2547 รางวัลชนะเลิศ ในการประกวดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องใช้การเกษตร ชื่อผลงาน เครื่องห่อผลไม้ (โครงการวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์)
- ปี พ.ศ.2547 เกียตรติบัตรรางวัลที่1 จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านภูมิปัญญาเกษตรกรไทย
- ปี พ.ศ 2549 เป็นผู้แทนเกษตรคณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน จังหวัดอุตรดิตถ์
- ปี พ.ศ.2550 เกียตรติบัตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นดีเด่น จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกลุ่ม “ห้าขุนศึก “ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตาก และจังหวัดอุตรดิตถ์
วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
โครงการทำดีทุกวัน 1Goal : Education for All


วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไผ่ขอดอน : นายถวิล น่วมบาง
วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลบ้านหนองกุลา : ทองปาน เผ่าโสภา
นายทองปาน เผ่าโสภา ประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนหนองกุลา อยู่เลขที่ 163 หมู่ที่ 14 บ้านหนองปลวก ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โทร.086-2063680
ประวัติการทำงาน
- เกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2549 จาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดพิษณุโลก
- ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6 ปี 2552
- รางวัลเกษตรกรทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง จาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- รางวัลผู้ทำประโยชน์แก่วงการเกษตรของจังหวัดพิษณุโลก จาก เกษตรจังหวัดพิษณุโลก
- รางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2549 จาก จังหวัดพิษณุโลก
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
เกษตรผสมผสานบ้านทับหมัน จ.พิจิตร : นายสมพงษ์ ธูปอ้น
นายสมพงษ์ ธูปอ้น อยู่บ้านเลขที่ 80 หมู่ 6 บ้านทับหมัน ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร.083-9612099
คติประจำตัว
" ทั้งคู่สู้ไม่ถอย รักฝังใจ เหนื่อยหยุด หิวทาน ขยันลุก "
ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร
- คิดค้นสมุนไพรป้องกันไข้หวัดนก
- การปั้นเตาเผาถ่านเพื่อเก็บน้ำส้มควันไม้
- การทำไร่นาสวนผสม
- การเลี้ยงปลาธรรมชาติ
แนวคิดการสร้างเครือข่ายทางการเกษตร โดยต้องการให้เกษตรกรหันมาทบทวนการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง และธรรมชาติ สร้างเครือข่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกันในภูมิปัญา
รางวัลและเกียรติยศ ที่ได้รับ
- รางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม จาก สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร
- ปราชญ์ชาวบ้านรุ่นแรก ของชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จังหวัดพิจิตร
- แกนนำสือสานภูมิปัญญาไทย สาขาเกษตรปลอดสารพิษ จาก กิจกรรมผู้สูงอายุรวมใจทำความดีถวายในหลวง 80 พรรษา
- ผู้สูงอายุดีเด่น สาขาเกษตรปลอดสารพิษ จาก รพ.สมเด็จพระยุพราชตะพานหิน
- ปราชญ์ชาวบ้าน จาก สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน จ.ตาก
วีดีโอ ตอนที่ 1
วีดีโอ ตอนที่ 2
วีดีโอ ตอนที่ 3
วีดีโอ ตอนที่ 4

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ศิริสมานฟาร์ม : นายศักดิ์ดา สนทิน
นายศักดา สนทิม เจ้าของฟาร์ม ศิริสมานฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ 3/2 หมู่ 6 ต.วังลึก อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย โทร.081-8875177 , 055-681254
ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ / บริหารธุรกิจ
ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน
รับราชการครู 2522 – 2540 โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยาคม บ้านด่านลานหอยวิทยา บ้านไร่วิทยาคม
กิจการปัจจุบันประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์และประมง ประกอบด้วย
เลี้ยงแม่สุกรจำนวน 300 แม่ สุกรขุน 2,400 ตัว ไก่ไข่ 28,000 ตัว ไก่สาวทดแทน 10,000 ตัว ปลาดุก 50 ตัน/ปี ลูกปลาดุก 10 ล้านตัว/ปี ปลานิล 30-50 ตัน/ปี ปลาสวาย 20 ตัน/ปี
ประสบการณ์การทำงานด้านเกษตร
- ปี พ.ศ.2529 เริ่มเลี้ยงสุกรขุน 20 ตัว เห็นว่ากิจการไปได้ ค่อยๆเพิ่มการเลี้ยงทีละน้อย
- ปี พ.ศ.2533-34 ตั้งกิจการฟาร์มเลี้ยงสุกร ขุน จำนวน 300 ตัว เพิ่มเลี้ยงแม่สุกร 10 แม่ เพิ่มเลี้ยงเป็ดไข่ 1500 ตัว เพิ่มจำนวนแม่สุกรเรื่อยๆ
- ปี พ.ศ.2536 เลี้ยงไก่ไข่เพิ่มเติม 3,000 ตัว เลิกเลี้ยงเป็ดไข่ ตลาดหันมานิยมไข่ไก่
- ปี พ.ศ.2538 ขยายการเลี้ยงแม่สุกรเป็น 170 แม่ เพื่อผลิตลูกเลี้ยงขุนเองทั้งหมด เลี้ยงไก่ไข่เพิ่ม เป็น 7,000 ตัว เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ 10 ไร่ ไม่เหมาะการเลี้ยง จึงย้ายไปเลี้ยงที่ใหม่ ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงไปเลี้ยงแบบผสมผสาน ลดมลภาวะ พื้นที่ ใหม่เริ่มแรกจำนวน 45 ไร่
- ปี พ.ศ.2538 เพิ่มขยายการเลี้ยงแม่สุกร เป็น 200 แม่ ไก่ไข่ 10,000 ตัว โดยเตรียมย้ายกิจการมายังพื้นที่ใหม่ในปัจุบัน
- ปี พ.ศ.2540 เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ฟาร์มที่กำลังเติบโตประสบปัญหาโดยตรง ต้นทุนค่าอาหารสูงขึ้นมาก ราคาไข่ไก่ สุกรตกต่ำ ขาดสภาพคล่อง ธนาคารคืนวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยสูง ลดการผลิต เพื่อความอยู่รอด หนี้สินเพิ่มมหาศาลอย่างไม่คาดคิด
- ปี พ.ศ.2542 ปรับโครงสร้างหนี้สิน ขอเพิ่มเงินกู้เพื่อนำมาลงทุน และใช้หมุนเวียนในกิจการ ชะลอการส่งเงินต้น
- ปี 2544 ขยายกิจการเพิ่มเติมเพราะเห็นว่า จะชำระหนี้ธนาคารไม่หมดแน่ นำกำไรมาลงทุนบางส่วนและปรับปรุงฟาร์มบางส่วน
- ปี พ.ศ.2545 ดำเนินกิจการด้วยดีมาตลอด
- ปี พ.ศ.2547 เกิดวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก ไข่ไก่ราคาตก ฟองละไม่ถึงบาทอยู่หลายเดือน แต่ภาวะราคาหมูกลับสูงขึ้นเพราะคนหันมากินหมู
- ปี พ.ศ.2549 ราคาสุกรตกต่ำ เนื่องมีการขยายการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง ราคาต่ำสุด 28 บาทต่อกก. ขณะต้นทุน สูงถึง 42-45 บาท
- ปี พ.ศ.2550 วิกฤตอาหารโลกและราคาน้ำมันสูง ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับขึ้นมาก เช่น ปลายข้าว จาก 9 บาทไปเป็น 14 บาท ต้นทุนสูงขึ้นไปเป็น สุกร 53 บาท ไข่ไก่ 2.5 บาทต่อฟอง ขณะราคาขายต่ำกว่ามาก
- ปี พ.ศ.2551-ปัจจุบัน กิจการดำเนินด้วยดี แม้มีหนี้สินบ้าง เนื่องจากภาวะวิกฤต
ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน
เกิดวิกฤต ปี พ.ศ.2540 ศึกษาอาหารสัตว์ที่จะผสมใช้เองอย่างจริงจัง และสามารถผสมใช้เองทั้งหมดในฟาร์มลดต้นทุนการผลิตได้ปรับวิธีการเลี้ยงสุกร เน้นการจัดการ และเก็บข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้นมาก วางระบบการบริหารงานฟาร์ม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงานด้านการเลี้ยง
เริ่มเลี้ยงปลา ปี พ.ศ.2537 โดยเลี้ยงใต้เล้าไก่ ศึกษาแบบอย่างจากเชียงราย พัฒนาการรอดของลูกปลาดุก การเลี้ยงปลาดุกเชิงการค้า พัฒนาเครื่องผลิตอาหารปลาขึ้นใช้เองในฟาร์ม การเลี้ยงปลาผสมผสานโดยใช้มูลไก่ สุกร การนำน้ำที่เลี้ยงปลาดุกไปปลูกพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด
ด้านการตลาด
สร้างแบรนด์ไข่ไก่ โดยใช้ชื่อว่า ไข่โอชา เพื่อเพิ่มทางการตลาด พัฒนาตัวสินค้า สุกรขุน ให้ตลาดเป็นที่ยอมรับ
พัฒนาการรอดของปลาดุก
ศึกษาการเทคนิควิธีการอนุบาลลูกปลาดุกตุ้ม ปัญหา การอนุบาลลูกปลามักประสบปัญหาจำนวนลูกปลาเหลือรอดน้อย การศึกษา
- เพิ่มจำนวนแพลงตอนสายคอเรลลา
- เพิ่มจำนวนไรแดงในบ่อดิน
- ลดปัญหาการหมักเน่าน้ำพื้นล่าง
ปัจจุบัน พัฒนาการรอดเฉลี่ย 50 % สูงสุด 70 %
พัฒนาเครื่องผลิตอาหารขึ้นใช้เอง
เริ่มต้นใช้เครื่องบดเนื้อ พยายามอัดเม็ด สร้างสูตรอาหารโดยศึกษาจากหนังสือและตำราต่างๆ ศึกษาจากคู่มือทางวิชาการ เกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยง สร้างและพัฒนาโดยการลองผิดลองถูก พัฒนาเครื่องให้มีขนาดใหญ่และทนทานมากขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องอัด 2 เครื่อง
การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
- ฟาร์มเป็นแหล่งให้ความรู้ แก่เกษตรกรหลายครั้ง
- เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงมากมายหลายครั้ง
- เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าทำงานช่วงปิดภาคเรียนและให้นักศึกษาเข้าฝึกงาน
- ปัจจุบันฟาร์มเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
- เป็นศูนย์สื่อสารด้านราคา สุกร วัตถุดิบ อื่นๆ นอกเหนือจากการให้ความรู้
การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
- สิ่งที่ภูมิใจคือ การเลี้ยงสุกรไก่ไข่ ไม่มีกลิ่น น้ำเสีย สกปรก
- การพัฒนาระบบการเลี้ยงที่เกื้อกูล ใช้เทคนิคเชิงวิทยาศาสตร์ ที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้
นำมูลสัตว์ น้ำเสีย ของเหลือ วัชพืช นำไปเลี้ยงปลาให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหาเรื่องมลภาวะ
การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มมุ่งสู่ปศุสัตว์อินทรีย์
- อาหารสัตว์ในฟาร์มไม่มียาต้องห้าม
- ใช้ยาปฏิชีวนะเพียงเพื่อป้องกันโรคมากกว่าการรักษา
- ใช้จุลินทรีย์ลักษณะโปรไอติกในอาหารสัตว์
- การเลี้ยงเน้นการจัดการ มากกว่าการใช้ยา เช่น ความสะอาด การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม
วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ฟาร์มฉัตรพันธ์ปลา : นายจำรุณ รอดทับทิม
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตนเองบ้านวังขาม
นายสุพัฒน์ ภมรพิพัฒน์ ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงตนเองบ้านวังขาม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 73/1 หมู่ที่ 3 บ้านวังขาม ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร.084-9512413 , 056-820241
ประวัติส่วนตัว
นายสุพัฒน์ ภรมพิพัฒน์ เกิดปี พ.ศ.2490 อาชีพเกษตรกรรม ภูมิลำเนาเดิมย้ายยมาจากจังหวัดนครราชสีมา มีบุตร 1 คน สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายสุพัฒน์ ภรมพิพัฒน์ เดิมมีหนี้สินมากมาย เตยไปขายแรงงานที่ต่างประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อกลับมาเมืองไทยจึงมุมานะทำการเกษตรจนสามารถใช้หนี้ได้หมดโดยทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมประกอบกับเป็นบุคคลที่มีความมานะอดทนช่างสังเกตุ และหมั่นเรียนรู้เข้าศึกษาอบรมตามที่หน่วยงานต่างๆ ได้จัดอบรมจึงเรียนรู้ทุกอย่างรวดเร็วและได้รับการคัดเลือกให้เป็นวิทยากรหมอดินประจำอำเภอ ปัจจุบัน มีพื้นที่ประกอบการเกษตรทั้งหมด 61 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าว 14 ไร่ ปลูกข้าวขาวดอกหอมมะลิ 105 ผลผลิต 80 ถัง/ไร่ และข้าวพันธุ์ชัยนาทได้ผลผลิต 105 ถัง/ไร่ (ใช้น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ และสมุนไพรไล่แมลง) มีพื้นที่ปลูกสัก 8 ไร่ มีการปลูกอ้อยสาธิต 8 แปลง พื้นที่ปลูกอ้อย 35 ไร่ แปลงที่ได้ผลดีได้ไร่ละ 23 ตัน/ไร่ โดยการปลูกปอเทือง ก่อนปลูกอ้อย พื้นที่ปลูกบ้าน 4 ไร่ (คอกสัตว์ โรงเก็บพัสดุ แปลงผักและผลไม้ เช่น มะกรูด ชมพู่ มะขามเทศ มะม่วง ลำไย มะเฟือง กล้วยน้ำหว้า มะละกอ กวางตุ้ง มะนาว มะพร้าว ต้นหอม กระเทียม มะเขือ และสมุนไพร)ความคิดริเริ่ม จัดทำปุ๋ยหมักใช้เองปีละ 4-5 ตัน จากมูลสัตว์ที่เลี้ยงเองภายในครอบครัว โดยใช้สารเร่ง พด.1 และทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชและสัตว์โดใช้สารเร่ง พด.2 จัดทำสารสกัดพืชสมุนไพรและฆ่าแมลง โดยใช้ หางไหล ใบน้อยหน่า หนอนตายอยาก สาบเสือ ใบยูคาลิปตัส- จัดทำน้ำส้มควันไม้ โดยติดตั้งเตาเผา จำนวน 2 เตา การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน โดยการปลูกถั่วเขียว ปอเทือง เป็นพืชบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยชีวภาพมาประมาณ 8-9 ปี ประสบความสำเร็จในการใช้ผลผลิตดีโดยไม่ใช่ปุ๋ยเคมี ทำไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง นำเอามูลวัวมาจัดทำบ่อแก๊สชีวภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ ทำการเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
รางวัลที่ได้รับ
-ได้รับรางวัล ผู้นำอาชีพก้าวหน้า ระดับจังหวัด ประจำปี 2540 จากกระทรวงมหาดไทย
- ได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว ลำดับที่ 3 ของประเทศ ประจำปี 2541 โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ได้รับรางวัลที่ 1 โคนมเพศเมีย อายุ 12-18 เดือน จากการประกวดสัตว์ระดับเขต ของสำนักงานปศุสัตว์ เขต 6 จังหวัดพิษณุโลก ประจำปี 2544
- ได้รับดัดเลือก โดย กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหมอดินอาสาดีเด่น ประจำตำบลระดับจังหวัด ประจำปี 2547
- เป็นศูนย์การเรียนรู้ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลสระกรวด ด้านไร่นาสวนผสม - เป็นศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ดินของสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์
- เป็นศูนย์การเรียนรู้ของปศุสัตว์อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
- เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด โดยในปี 2551 อบรมจำนวน 130 คน ปี 2552 อบรม จำนวน 150 คน โดยยึดหลักการให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน