วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศิริสมานฟาร์ม : นายศักดิ์ดา สนทิน


นายศักดา สนทิม เจ้าของฟาร์ม ศิริสมานฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ 3/2 หมู่ 6 ต.วังลึก อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย โทร.081-8875177 , 055-681254

ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ / บริหารธุรกิจ
ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน
รับราชการครู 2522 – 2540 โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยาคม บ้านด่านลานหอยวิทยา บ้านไร่วิทยาคม

กิจการปัจจุบันประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์และประมง ประกอบด้วย

เลี้ยงแม่สุกรจำนวน 300 แม่ สุกรขุน 2,400 ตัว ไก่ไข่ 28,000 ตัว ไก่สาวทดแทน 10,000 ตัว ปลาดุก 50 ตัน/ปี ลูกปลาดุก 10 ล้านตัว/ปี ปลานิล 30-50 ตัน/ปี ปลาสวาย 20 ตัน/ปี

ประสบการณ์การทำงานด้านเกษตร
  • ปี พ.ศ.2529 เริ่มเลี้ยงสุกรขุน 20 ตัว เห็นว่ากิจการไปได้ ค่อยๆเพิ่มการเลี้ยงทีละน้อย
  • ปี พ.ศ.2533-34 ตั้งกิจการฟาร์มเลี้ยงสุกร ขุน จำนวน 300 ตัว เพิ่มเลี้ยงแม่สุกร 10 แม่ เพิ่มเลี้ยงเป็ดไข่ 1500 ตัว เพิ่มจำนวนแม่สุกรเรื่อยๆ
  • ปี พ.ศ.2536 เลี้ยงไก่ไข่เพิ่มเติม 3,000 ตัว เลิกเลี้ยงเป็ดไข่ ตลาดหันมานิยมไข่ไก่
  • ปี พ.ศ.2538 ขยายการเลี้ยงแม่สุกรเป็น 170 แม่ เพื่อผลิตลูกเลี้ยงขุนเองทั้งหมด เลี้ยงไก่ไข่เพิ่ม เป็น 7,000 ตัว เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ 10 ไร่ ไม่เหมาะการเลี้ยง จึงย้ายไปเลี้ยงที่ใหม่ ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงไปเลี้ยงแบบผสมผสาน ลดมลภาวะ พื้นที่ ใหม่เริ่มแรกจำนวน 45 ไร่
  • ปี พ.ศ.2538 เพิ่มขยายการเลี้ยงแม่สุกร เป็น 200 แม่ ไก่ไข่ 10,000 ตัว โดยเตรียมย้ายกิจการมายังพื้นที่ใหม่ในปัจุบัน
  • ปี พ.ศ.2540 เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ฟาร์มที่กำลังเติบโตประสบปัญหาโดยตรง ต้นทุนค่าอาหารสูงขึ้นมาก ราคาไข่ไก่ สุกรตกต่ำ ขาดสภาพคล่อง ธนาคารคืนวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยสูง ลดการผลิต เพื่อความอยู่รอด หนี้สินเพิ่มมหาศาลอย่างไม่คาดคิด
  • ปี พ.ศ.2542 ปรับโครงสร้างหนี้สิน ขอเพิ่มเงินกู้เพื่อนำมาลงทุน และใช้หมุนเวียนในกิจการ ชะลอการส่งเงินต้น
  • ปี 2544 ขยายกิจการเพิ่มเติมเพราะเห็นว่า จะชำระหนี้ธนาคารไม่หมดแน่ นำกำไรมาลงทุนบางส่วนและปรับปรุงฟาร์มบางส่วน
  • ปี พ.ศ.2545 ดำเนินกิจการด้วยดีมาตลอด
  • ปี พ.ศ.2547 เกิดวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก ไข่ไก่ราคาตก ฟองละไม่ถึงบาทอยู่หลายเดือน แต่ภาวะราคาหมูกลับสูงขึ้นเพราะคนหันมากินหมู
  • ปี พ.ศ.2549 ราคาสุกรตกต่ำ เนื่องมีการขยายการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง ราคาต่ำสุด 28 บาทต่อกก. ขณะต้นทุน สูงถึง 42-45 บาท
  • ปี พ.ศ.2550 วิกฤตอาหารโลกและราคาน้ำมันสูง ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับขึ้นมาก เช่น ปลายข้าว จาก 9 บาทไปเป็น 14 บาท ต้นทุนสูงขึ้นไปเป็น สุกร 53 บาท ไข่ไก่ 2.5 บาทต่อฟอง ขณะราคาขายต่ำกว่ามาก
  • ปี พ.ศ.2551-ปัจจุบัน กิจการดำเนินด้วยดี แม้มีหนี้สินบ้าง เนื่องจากภาวะวิกฤต

ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน

เกิดวิกฤต ปี พ.ศ.2540 ศึกษาอาหารสัตว์ที่จะผสมใช้เองอย่างจริงจัง และสามารถผสมใช้เองทั้งหมดในฟาร์มลดต้นทุนการผลิตได้ปรับวิธีการเลี้ยงสุกร เน้นการจัดการ และเก็บข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้นมาก วางระบบการบริหารงานฟาร์ม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงานด้านการเลี้ยง

เริ่มเลี้ยงปลา ปี พ.ศ.2537 โดยเลี้ยงใต้เล้าไก่ ศึกษาแบบอย่างจากเชียงราย พัฒนาการรอดของลูกปลาดุก การเลี้ยงปลาดุกเชิงการค้า พัฒนาเครื่องผลิตอาหารปลาขึ้นใช้เองในฟาร์ม การเลี้ยงปลาผสมผสานโดยใช้มูลไก่ สุกร การนำน้ำที่เลี้ยงปลาดุกไปปลูกพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด


ด้านการตลาด
สร้างแบรนด์ไข่ไก่ โดยใช้ชื่อว่า ไข่โอชา เพื่อเพิ่มทางการตลาด พัฒนาตัวสินค้า สุกรขุน ให้ตลาดเป็นที่ยอมรับ

พัฒนาการรอดของปลาดุก

ศึกษาการเทคนิควิธีการอนุบาลลูกปลาดุกตุ้ม ปัญหา การอนุบาลลูกปลามักประสบปัญหาจำนวนลูกปลาเหลือรอดน้อย การศึกษา
- เพิ่มจำนวนแพลงตอนสายคอเรลลา
- เพิ่มจำนวนไรแดงในบ่อดิน
- ลดปัญหาการหมักเน่าน้ำพื้นล่าง
ปัจจุบัน พัฒนาการรอดเฉลี่ย 50 % สูงสุด 70 %

พัฒนาเครื่องผลิตอาหารขึ้นใช้เอง

เริ่มต้นใช้เครื่องบดเนื้อ พยายามอัดเม็ด สร้างสูตรอาหารโดยศึกษาจากหนังสือและตำราต่างๆ ศึกษาจากคู่มือทางวิชาการ เกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยง สร้างและพัฒนาโดยการลองผิดลองถูก พัฒนาเครื่องให้มีขนาดใหญ่และทนทานมากขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องอัด 2 เครื่อง

การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

  • ฟาร์มเป็นแหล่งให้ความรู้ แก่เกษตรกรหลายครั้ง
  • เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงมากมายหลายครั้ง
  • เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าทำงานช่วงปิดภาคเรียนและให้นักศึกษาเข้าฝึกงาน
  • ปัจจุบันฟาร์มเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
  • เป็นศูนย์สื่อสารด้านราคา สุกร วัตถุดิบ อื่นๆ นอกเหนือจากการให้ความรู้

การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

  • สิ่งที่ภูมิใจคือ การเลี้ยงสุกรไก่ไข่ ไม่มีกลิ่น น้ำเสีย สกปรก
  • การพัฒนาระบบการเลี้ยงที่เกื้อกูล ใช้เทคนิคเชิงวิทยาศาสตร์ ที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้
    นำมูลสัตว์ น้ำเสีย ของเหลือ วัชพืช นำไปเลี้ยงปลาให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหาเรื่องมลภาวะ

การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มมุ่งสู่ปศุสัตว์อินทรีย์

  • อาหารสัตว์ในฟาร์มไม่มียาต้องห้าม
  • ใช้ยาปฏิชีวนะเพียงเพื่อป้องกันโรคมากกว่าการรักษา
  • ใช้จุลินทรีย์ลักษณะโปรไอติกในอาหารสัตว์
  • การเลี้ยงเน้นการจัดการ มากกว่าการใช้ยา เช่น ความสะอาด การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

1 ความคิดเห็น:

  1. อยากทดลองเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย สัก 10-20 ตัว แต่ไม่รู้จะไปซื่อไก่ที่ไหน ไม่ทราบว่าที่ฟาร์มของอาจารย์ มีการจำหน่ายแม่พันธุ์ไก่ไข่ด้วยหรือเปล่า ผมอยู่ี่ีที่พิษณุโลกครับ พอดีเห็นออกรายการทีวีด้วย รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะครับขอบคุณครับ Jee_koong@hotmail.com ครับ

    ตอบลบ