วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน จ.ตาก

วีดีโอ ตอนที่ 1

วีดีโอ ตอนที่ 2

วีดีโอ ตอนที่ 3

วีดีโอ ตอนที่ 4


เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมกับ เครือข่ายวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน โดยวิทยุ DFM 92.50 MHz จ.พิษณุโลก ร่วมด้วยช่วยกัน คลื่นความดี บริหารงานโดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค จัดโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน โดยนายประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง รักษาราชการแทนนายอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งนายโสภณ ใจลังกา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หละ กล่าวต้อนรับ และภาระกิต เจริญกองชู กล่าวรายงาน มอบของที่ระลึกโดยอุษา ประกอบทรัพย์ ผู้อำนวยการเครือข่ายวิทยุภูมิภาค บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด ณ สำนักสงฆ์บ้านแม่หละยาง หมู่ 2 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก นายโสภณ ใจลังกา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หละ กล่าวต้อนรับว่าตำบลแม่หละ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอ มีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน/ทำไร่ อาชีพเสริม เลี้ยงโค กระบือ รับจ้างทั่วไป จำนวนประชากรในเขต อบต. 7,980 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,302 หลังคาเรือน ประชากรรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองอย่างเคร่งครัด
การจัดโครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน สัมมนา “รู้ทันสุขภาพ ตามทันการเกษตร” เป็นโอกาสอันดีที่เราคนในพื้นที่จะนำความรู้ที่ได้รับจาก สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าสองยาง ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๙.๓ แม่สอด หน่วยควบคุมโรคติดต่อ ๙.๓.๑๐ อ.ท่าสองยาง สำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง และเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2551 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความร่วมมือของทุกท่านที่มีความตั้งใจที่จะนำความรู้มาเผยแพร่แก่ประชาชน นางสาวภาระกิต เจริญกองชู ผู้จัดการวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน พิษณุโลก ในนามผู้ร่วมจัดโครงการ กล่าวว่า โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน ในหัวข้อ รู้ทันสุขภาพ ตามทันการเกษตร โดยมีที่มาของโครงการแผ่นทองของแผ่นดิน โดยเครือข่ายวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น. เรดิโอ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค เริ่มขึ้นปี 2551 มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในทุกๆ ด้าน อันก่อให้เกิดประโยชน์ ในการดำรงชีวิต และสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตร การพัฒนาชุมชน การพัฒนาบุคลากร หรือแม้แต่ทางด้านสุขภาพ และสาธารณสุขของชุมชน อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดโครงการแผ่นทองของแผ่นดินในครั้งนี้ ที่มุ่งเน้นในเรื่อง ภัยจากไข้หวัดนก ภัยจากโรคมาลาเรีย และเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยมีวัตถุประสงค์การจัดโครงการดังนี้
1. เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐาน รวมถึงรู้จักวิธีการป้องกันและเฝ้าระวังภัยให้ปลอดจากโรค
3. เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข
4. เพื่อให้ประชาชนในชนบท สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและยั่งยืนในถิ่นเกิดบนพื้นฐานของความพออยู่พอกิน
5. เพื่อให้ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำเกษตรกร เป็นตัวหลักในการเผยแพร่ความรู้สำหรับวิทยากรสนับสนุนทางวิชาการที่ให้การฝึกอบรมในวันนี้ได้แก่ คุณสุทิน เชื้อเทศ เจ้าพนักงานสัตวบาล ๒ สนง.ปศุสัตว์จังหวัดตาก ให้ความรู้เรื่องไข้หวัดนกในสัตว์ พร้อมบูธกิจกรรม
คุณฉัตรชัย อิ่มอ่อง นักวิชาการชำนาญการสนง.สาธารณสุขอำเภอท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่องไข้หวัดนกในคน พร้อมบูธกิจกรรม คุณกฤษณะ สุขอ่วม หน.หน่วยควบคุมโรคติดต่อ ๙.๓.๑๐ อ.ท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่องไข้มาลาเรีย และบูธกิจกรรมจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๙.๓ แม่สอด คุณวินัย เสริมตระกูล เกษตรอำเภอท่าสองยาง ให้ความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง และบูธกิจกรรมจาก สนง.เกษตรอำเภอท่าสองยาง และคุณบุญปัน ใจกว้าง เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดปี ๒๕๕๑ เล่าประสบการณ์การทำการเกษตร เพื่อเป็นประโยชน์ สำหรับเกษตรกร และครอบครัวของท่าน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก อสม.และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ตำบลแม่หละ ความพยายามเหล่านี้ เชื่อว่าจะประสบผลสำเร็จได้ ด้วยความร่วมมือ ด้วยดีจากทุกภาคส่วน ในนามผู้จัดงาน ขอขอบคุณทุกท่าน รวมทั้งสื่อมวลชน และขอขอบคุณโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย และขอบพระคุณท่านประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิด นายประทีป โพธิ์เที้ยม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าสองยาง ประธานในพิธี กล่าวว่า ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย จากโครงการในพระราชดำรินานัปการ และพระบรมราโชวาทตลอดระยะของการครองราชย์ บัดนี้ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระแสทางเลือกใหม่ของการพัฒนาประเทศที่ทำให้เราอยู่ได้อย่างยั่งยืนมั่นคงและเข้มแข็ง โดยมีการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ระหว่าง พ.ศ.2550 – 2554 จึงถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ภาครัฐมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภาคประชาชน โรคไข้หวัดนก จังหวัดตากได้มีการรณรงค์และระดมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง ฉีดยาฆ่าเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก โดยระดมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังและป้องกันไข้หวัดนก รวมทั้งอาสาสมัครปศุสัตว์-อสม.ทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อทำการพ่น ฉีดยาฆ่าเชื้อหวัดนกทั่วบริเวณพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก ทั้งไก่-เป็ด-นก-ห่าน- ฯลฯ นอกจากนี้ยังส่งเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ ทั่วทั้งจังหวัดแบบ X-RAY ทุกตารางนิ้ว เพื่อฉีดยาฆ่าเชื้อและป้องกันทำลายไข้หวัดนกอย่างทั่วถึง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคไข้หวัดนกให้หมดไป ต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือ อย่างจริงจังของประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน โรคมาลาเรีย เนื่องจากพื้นที่อำเภอท่าสองยางจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่ติดชายแดนและมีผู้อพยพ ซึ่งอำเภอท่าสองยาง พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยตรวจพบเชื้อทั้งหมด (คนไทย, ต่างชาติ 1 และต่างชาติ 2) เพิ่มขึ้นสูงมากที่สุดของจังหวัดในปี 2552 โดยปี 2551 มีจำนวน 6,101 ราย เพิ่มขึ้นในปี 2552 เป็น 9,732 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.51 สาเหตุหลักคือมีการสู้รบกันในพม่าบริเวณใกล้ชายแดน และมีกลุ่มคนอพยพหนี้ภัยเข้ามาพักพิงในเขตพื้นที่อำเภอท่าสองยางจำนวนมาก บางกลุ่มก่อให้เกิดปัญหาการแพร่เชื้อขึ้นภายในหลายหมู่บ้านทั้งนี้ในส่วนวิสัยทัศน์ของการพัฒนาจังหวัดตาก มีหลายด้านแต่ที่สอดคล้องกับ โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน นั้นคือ ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง การเกษตรก้าวหน้าและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประชาชนมีจิตใจดี มีคุณธรรม จริยธรรมโดยอยู่ร่วมกันด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมเพื่อเป็นสังคมที่สงบสุข ประชาชนสนใจใฝ่รู้ในการพัฒนาตนเองและการงานอย่างต่อเนื่อง โดยแสวงหาความรู้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นสังคมแห่งการปรับตัว
การสัมมนาครั้งนี้ถือว่าสอดรับกับการดำเนินงานของหน่วยงานเป็นการร่วมมือกันทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน จึงขอขอบใจทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันดำเนินการในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสัมมนาจะก่อให้เกิดวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรค มาลาเรีย ไข้หวัดนก และพัฒนาความก้าวหน้าด้านการเกษตรต่อไป โครงการ แผ่นทองของแผ่นดิน ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมจาก อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ประชาชนทั่วไปกว่า 190 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น